วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บรมมหานารายณ์ทศอวตาร ตอน กัลกิยาวตาร

ทศอวตารนารายณ์เทพ ตอน กัลกิยาวตาร


ทศอวตารปางปัจฉิม สุรทินอนาคตกาลสมัย
เมื่อคนชั่วเป็นโลกา จะทรงเสด็จมาฆ่าฟัน
มิให้เหลือรอดไป เพื่อจะคืนคงสันติสุขไตรภพ
พระพรหมจะตื่นขึ้นอีกหน ทรงจะดลสรางจักรวาลใหม่อีกครา

         ปางสุดท้ายของทศอวตารคือ กัลกิยาวตาร จะทรงอวตารมาเกิดเป็นอิศวินขี่ม้าขาวนามกัลกี บุตรของพราหมณ์ วิษณี ด้วยสมัยนี้เป็นช่วงท้ายของพรหมนิทรา พระพรหมจะตื่นขึ้นมาร่ายพระเวทสร้างจักรวาลอีกหน การณ์ครั้งนั้นโลกจะเต็มไปด้วยคนชั่วนานัปประการจนแยกไม่ออกว่าใครเป็นใคร ปางนี้จึงต่างจากปางอื่นที่มีจุดประสงค์เจาะจงแต่ปางนี้ กัลกีจะควบม้าขาวฆ่าฟันทุกคนที่มาบาปชั่วช้า ทรงจะแกว่งดาบสังหารทุกคนไม่เหลือเพื่อจะได้สร้างโลกใหมอีกครั้ง จึงนับเป็นอนาคตปาง คือเป็นภาคที่จะเกิดในอนาคตยังมาไม่ถึงจะมาถึงในวันสิ้นโลกในคติความเชื่อของศาสนาฮินดูนั้นเอง เหมือนกับศาสนาพุทธที่มีพระศรีอริยเมตไตรยเป็นปางอนาคตยังมาไม่ถึง หรือในศาสนาคริสต์ที่รอการพิพากษาจากพระเจ้าและการกลับมาของพระเยซูนั่นเอง

บรมมหานารายณ์ทศอวตาร ตอน พุทธาวตาร

ทศอวตารนารายณ์เทพ ตอน พุทธาวตาร

บรมเทพโลกเชษฐ์นาโถ  มิ่งภิญโญเสด็จมาจากสวรรค์
เพื่อปรายักษ์ตรีปูรัมอาธรรม์ ผู้หาญกล้าท้าทายทวยเทวา


           ปางอวตารปางที่ 9 ของพระนารายณ์ที่ระบุไว้คือ พุทธาวตาร ทรงอวตารมาเป็นนักบวชเพื่อหลอกล่อยักาตรีปุรัมให้วางศิวลิงค์ที่ทูนหัวออกเพื่อจะได้สังหารได้ ปางนี้เป็นปางที่มีปัญหาการกล่าวถึงกันบ่อยมากเป็นข้อพิพาทระหว่างชาวฮินดูและชาวพุทธมาอย่างยาวนาน            
          ในพระราชนิพนธ์ลิลิตนารายร์สิบปางของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า ยักษ์ตรีปุรัม ได้ทำการบูชายัญอารัมภบทคถาถวายพระศิวะอยู่นานแรมปี จนพระศิวะพอใจพระศิวะจึงมาปรากฏกายให้ตรีปุรัมขอพรได้อย่างหนึ่ง ตรีปุรัมได้ขอพรว่าหากตนยังมีรูปเคารพของพระสิวะติดตัวไม่ว่าใครแม้แต่พระนารายร์ก็สังหารตนไม่ได้ พระศิวะพอใจในการบำเพ็ญเพียรของตรีปุรัมจึงประทานให้และสั่งสอนให้อยู่ในศีลธรรม แล้วก็เสด็จกลับไปยังเขาไกรลาสตามเดิม
            เมื่อตรีปุรัมได้พรดังกล่าวก็ไม่ได้ตั้งอยู่ในสุจริตธรรมกบัเอาศิวลึงค์ตัวเเทนพระศิวะเหน็บไว่บนศรีษะต่างมงกุฎระรานผู้อื่นไปทั่วจนสร้างความเดือดร้อนเหลือคณานับ เมื่อเหิมเกริมได้ทีก็ยกพลมาท้าพระศิวะรบใครชนะได้ครองเป็นเจ้าจักรวาล พระศิวะพิโรธมากจึงสั่งรวมกองทัพภูตผีดขมดไพรและเรียกเหล่าเทวดาทั้งหมดมา พระนารายณ์ได้เสนอให้สังหารตรีปุรัมในครั้งเดียวด้วยการทรงพระมหาโมลีธนูขึ้นมา โดนใช้กำลังเขาพระสุเมรุมาทำคันธนู เอาพญาอนันตนาคราชมาทำสายธนู ใช้พระนารายณ์เป็นลูกธนู แต่พอพระศิวะจะยิงธนูใส่ตรีปุรัมที่ยกพลขึ้นมาพระนารายณ์ก็หลับไปทั้งสามครั้ง จนพระศิวะโยนศรทิ้งด้วยความโมโห พระนารายณ์สะดุ้งตื่นและทูลให้ทราบว่าเป็นเพราะพรของพระองค์นั้นเอง จึงอาสาไปเอาศิวลึงค์จากตรีปุรัม พระนารายณ์จึงแบ่งภาคลงมาอวตารเป็นนักบวช นุ่งผ้าย้อมฝาดสามพื้น โกนศีรษะโล้นรูปร่างสง่างามน่าเลื่อมใสเดินอย่างสวมรวมไปทางตรีปุรัม ตรีปุรัมเห็นดังนั้นก็เลื่อมใสจึงเข้าไปสนทนาด้วย นักบวชก็สำแดงธรรมว่ากล่าวให้ตรีปุรัมหลงกลยอมถอดศิวลึงค์ออกมาถวายนักบวชและยอมรับนักบวชเป็นสรณะ เมื่อนักบวชไปแล้วตรีปุรัมก็ยกพลไปรบอีกแต่คราวนี้ตนเพ่งนึกขึ้นได้ว่าตนเสียพรประกาศิตจากพระศิวะไปแล้ว พระศิวะจึงใช้กล้องส่องจากดวงเนตรที่สามถูกยักษ์ตรีปุรัมสลายหายไปในพริบตา
           นั้นคือเนื้อความตามลิลิตนารายณ์สิบปาง แต่ในคัมภีร์ของฮินดูกล่าวไว้ว่าทรงอวตารมาเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อปราบพญาวัตสวัสตีมาร และล่อลวงคนที่เข้ามาเชื่อถือละทิ้งพระเจ้าให้ตกนรก ซึ่งเนื้อความข้อนี้เป็นที่ถกเถียงกันมายาวนานของชาวพุทธและฮินดู ชาวพุทธยืนยันว่าพระพุทธเจ้าไม่ใช่ภาคอวตารของพระนารายณ์เพราะศาสนาพุทธไม่มีการอวตารและยืนยันให้ชาวฮินดูแก้ไขภาคอวตารนี้ใหม่ แต่ชาวฮินดูกลับนิ่งเฉยทั้งยังกล่าวว่าพุทธเป็นสาขาหนึ่งของฮินดูเป็นบทลงโทษต่อบาปของพระนารายณ์ จึงกลายเป็นปัญหาคาราคาซังไม่มีที่สิ้นสุด ผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์ได้ศึกษากรณีนี้และลงความเห็นว่าแต่ก่อนปางที่เก้าของพระนารายณ์คงไม่ใช่พระพุทธเจ้า แต่อาจเป็นปางอื่นแต่การเปลี่ยนมาเป็นพระพุทธเจ้า เป็นเพราะเรื่องการเมืองแก่งแย่งความเคารพนับถือในอินเดียมากกว่าเรื่องอื่นโดยการเขียนตำนานเทพเพื่อสนับสนุนเรื่องนี้เช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่เขียนตำนานเทพสนับสนุนฐานะของสมเด็จพระจักรพรรดิ โดยในสมัยพุทธกาลมีชาวอินเดียหันมานับถือพระพุทธศาสนามากจนศาสนาฮินดูดูลดลำดับความสำคัญบางพื้นที่ก็ถูกทอดทิ้งเลยที่เดียว แม้พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วก็ไม่ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างไร ยิ่งอินเดียอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโมรินะซึ่งมีพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นกษัตริย์ยิ่งทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก แม้สิ้นยุคโมริยะเข้าสู่ยุคกนิษกะก็ยังไม่สามารถรื้อฟื้นอำนาจของศาสนาฮินดูกลับมาได้
          จนถึงสมัยพระเจ้าราชะราชา แห่งราชวงศ์ฝ่ายใต้ผู้มีศรัทธาในพระนารายณ์เป็นอย่างมากขึ้นมามีอำนาจบนแผ่นดินอินเดียได้ทรงยกเลิกศาสนาพุทธแต่ก็ไม่สามารถกลืนกินชาวพุทะได้ จึงทรงมีดำริที่จะกลืนชาวพุทธให้เข้ามาเป็นฮินดูอีกครั้งด้วยการเขียนตำนานอวตารปางที่เก้าของพระนารายณ์ใหม่ซึ่งอาจเป็นสมัยนี้เองที่พุทธาวตารถือกำเนิดขึ้น โดยกล่าวอ้างว่าพระพุทธเจ้าแท้จริงเป็นเพียงภาคหนึ่งของพระนารายร์ พระนารายณ์และเหล่าเทพฮินดูยังคงยิ่งใหญ่เหมือนเดิม ผนวกกับเวลานั้นศาสนาพุทธเสื่อมลงแตกเป็นนิกายต่างๆมากมาย คนก็เริ่มหมดศรัทธาพระศาสนาพุทธสอนในสิ่งที่เป็นปรัชญายากต่อการทำความเข้าใจ ทั้งยังไม่ตอบโจทย์ของการมีชีวิตอยู่ของชาวอินเดียที่เรียกได้ว่ายากจนค้นแค้นปากกัดตีนถีบ ศาสนาฮินดูที่เน้นปาฎิหาริย์และพิธีกรรมจึงเข้ามามีบทบาทยิ่งมาการกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในทางเป็นอวตารของพระนารายณ์ด้วยแล้วยิ่งทำให้ผู้คนกลับมานับถือศาสนาฮินดูมากยิ่งขึ้น นี้จึงเป็นสาเหตุของการมีอวตารปางที่เก้าคือ พุทธาวตาร นั้นเอง

บรมมหานารายณ์ทศอวตาร ตอน กฤษณาวตาร

ทศอวตารนารายณ์เทพ ตอน กฤษณาวตาร

บรมเทพอัฐภาคอวตาร นามศรีกฤษณะเทวา
โคบาลธิเบธรยศเกรียงไกร ศรีไผทงามงดจดไตรโลกา


         ปางอวตารปางที่แปดของพระนารายณ์คือกฤษณาวตารนี้ ทรงอวตารมาเป็นพระกฤษณะ ซึ่งเป็นภาคที่มีการบันทึกไว้ยาวมากทั้งในมหากาพย์มหาภารตะและคัมภีร์ภควคีตา เช่นเดียวกับภาคที่เป็นพระราม ด้วยเรื่องราวของพระกฤษณะเป็นเรื่องที่มีความน่าสนใจทั้งยังเป็นภาคอวตารที่มีการนับถือมาเช่นเดียวกับพระราม แต่พระกฤษณะบางครั้งถูกยกออกมาต่างหากพระนารายณ์เลยทีเดียวในบ้างที่ ดังนั้นพระกฤษณะจึงมีความศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกับเหล่ามหาเทพของชาวฮินดู

เนื้อเรื่องกล่าวถึง กษัตริย์อุครเสน (Ugrasena) ผู้ครอง เมืองมถุรา พระองค์เป็นกษัตริย์ทรงคุณธรรม เป็นที่รักใคร่ของประชาชนทั่วไป ทรงมีมเหสีคือ นางปวนะเรขา(Pavanarekha) ปกครองบ้านเมืองร่วมกันอย่างมีความสุข
วันหนึ่งพระนางปวนะเรขาเสด็จประพาสป่า ถูกอสูรตนหนึ่งแปลงร่างเป็นกษัตริย์อุครเสนมาร่วมเสพสม ครั้งต่อมาอีกสิบเดือนจึงบังเกิดโอรส นามว่า “กังสะ” (Kansa) กษัตริย์อุครเสนทรงหลงคิดว่ากังสะเป็นโอรสของพระองค์
กังสะเมื่อเติบโตก็เริ่มแสดงออกถึงความชั่วร้าย เช่น ไม่เคารพบิดา สังหารเด็กอื่นๆ ตลอดจนใช้กำลังขู่บังคับเอาธิดาทั้งสององค์ของ กษัตริย์ชราสันธ์ (Jarasandha) แห่ง เมืองมคธ มาเป็นชายาของตน และสุดท้ายก็จับตัวกษัตริย์อุครเสนไปคุมขังไว้ จากนั้นจึงสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์แทน นอกจากนี้ยังขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง
และที่สำคัญ กังสะ สั่งประกาศห้ามผู้คนไม่ให้ประกอบพิธีเคารพบูชา พระวิษณุ!!
พระวิษณุมหาเทพ ทรงทอดพระเนตรเห็นความเดือดร้อนของมนุษย์และทวยเทพ จึงตัดสินพระทัยอวตารลงไปปราบอสูร
โดยทรงพระดำริว่าควรไปจุติเป็นบุตรของ นางเทวากี (ธิดาองค์ที่เจ็ดของพระเจ้าเทวากา ลุงของพญากังสะ) กับ วสุเทวะ (Vasudeva)
พระวิษณุทรงถอนเส้นพระเกศาดำของพระองค์ และเส้นผมขาวของพญานาคอนันตะ (เศษะนาค) ส่งไปยังครรภ์ของนางเทวากี
เส้นผมขาวของเศษะนาคบังเกิดเป็นบุตรคนที่เจ็ด นามว่า “พลราม”
ส่วนเส้นพระเกศาดำของพระองค์บังเกิดเป็นบุตรคนที่แปด นามว่า “กฤษณะ”
พระกฤษณะวัยเด็ก
ย้อนเหตุการณ์ไปครั้งเมื่อมีงานแต่งงานระหว่างนางเทวากีกับวสุเทวะนั้น มีเสียงดังมาจากเบื้องบนเตือนพญากังสะว่า
พระองค์จะถูกประหารโดยบุตรของนางเทวากี พญากังสะจึงคิดสังหารนางเทวากี
แต่วสุเทวะสัญญาว่าจะนำลูกของตนที่เกิดกับนางเทวากีทั้งหมดมามอบให้พญากังสะ
เมื่อนางเทวากีคลอดบุตรหกคนแรกออกมา วสุเทวะก็รักษาสัญญาโดยนำมาให้กับพญากังสะ และถูกสังหารทั้งหมด
จนกระทั่งนางเทวากีใกล้จะให้กำเนิดบุตรคนที่เจ็ด ก็มีเสียงเตือนพญากังสะจากเบื้องบนเป็นครั้งที่สองว่า
ผู้ที่เกิดมาเป็นคนเลี้ยงโค จะเป็นผู้ประหารพระองค์ พญากังสะจึงออกคำสั่งให้สังหารคนเลี้ยงโคทุกคนที่พบ
ฝ่ายนันทะ (Nanda) คนเลี้ยงโคซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของวสุเทวะตัดสินใจช่วยวสุเทว
โดยให้วสุเทวะส่งภรรยาอีกคนหนึ่ง คือ นางโรหินี (Rohini) ไปอยู่กับนันทะ จากนั้นพระวิษณุก็ทรงใช้ฤทธิ์อำนาจสับเปลี่ยนเอาบุตรในครรภ์ของนางเทวากีไปใส่ในครรภ์ของนางโรหินีแทน
และถือกำเนิด พระพลราม โดยพญากังสะคิดว่าบุตรของนางเทวากีเสียชีวิตในครรภ์มารดาไปแล้ว
ส่วนบุตรคนที่แปด หรือ พระกฤษณะ นั้น วสุเทวะได้สับเปลี่ยนโดยนำเอาบุตรีของนันทะกับนางยโสดา (Yasoda) ไปมอบให้พญากังสะ
เมื่อพญากังสะรับมาก็ขว้างใส่ก้อนหิน แต่ปรากฎว่าทารกนั้นกลับกลายร่างเป็นเทพธิดาเหาะขึ้นไปบนฟ้า และกล่าวกับพญากังสะว่า
บัดนี้ผู้ที่จะสังหารพญากังสะได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว!!!

กฤษณะเติบโตท่ามกลางหมู่คนเลี้ยงโค
แค่เพียงในช่วงขวบปีแรกก็มีอสูรถึง 3 ตนพยายามทำร้ายพระองค์
ครั้งแรกเป็น อสูรปุตนะ (Putana) แปลงร่างเป็นหญิงสาวมาให้นมพระกฤษณะ โดยใส่ยาพิษไว้ในนม
แต่พระกฤษณะรู้ทัน จึงดูดนมจน อสูนปุตนะ สิ้นชีพ
ครั้งที่สองเป็น อสูรศักตาสูร (Saktasura) มีฤทธิ์สามารถบินได้
วางแผนจะใช้กำลังลากรถบรรทุกภาชนะเหยือกน้ำให้ไปทับร่างพระกฤษณะที่นอนหลับอยู่แต่ไม่สำเร็จ
ส่วนครั้งที่สามเป็น อสูรตรีนะวัตร (Trinavasta) แสดงฤทธิ์เป็นลมหมุน
หมายจะพัดร่างของพระกฤษณะให้ตกลงมาจากตักของนางยโสดา แต่ไม่บังเกิดผล
กลับถูกพระกฤษณะจับเหวี่ยงทุ่มใส่ก้อนหิน ทำให้พายุสงบลง
ชีวิตในวัยเด็กของพระกฤษณะต้องต่อสู้กับอสูรที่พญากังสะส่งมาหลายครั้ง เนื่องจากพญากังสะต้องการกำจัดเด็กที่มีพลังอำนาจสามารถสังหารตนได้ อสูรที่มาทำร้ายก็มี..
อสูรวัตสาสูร (Vatsasura) ปรากฎในร่างโค
อสูรบากาสูร (Bagasura) ปรากฎในร่างนกกระเรียนพยายามกลืนร่างพระกฤษณะ แต่ในที่สุดพระกฤษณะก็ปราบได้
อุกราสูร (Ugrasura) ปรากฎในร่างงู เข้ามากลืนร่างพระกฤษณะลงไปในท้อง แต่ในที่สุดพระกฤษณะก็ฉีกร่างอสูรออกมาได้
นอกจากนี้ พระกฤษณะก็ได้สังหาร อสูรเธนุกา (Dhenuka) และสั่งสอน นาคกาลิยะ (Kaliya) ให้สำนึกผิดด้วย

พระกฤษณะสู้กับนักมวยปล้ำ
 ส่วนพระพลรามผู้พี่ก็ได้ปราบอสูรต่างๆเช่น อสูรประลัมพ์ (Pra-lamba) ซึ่งเป็นอสูรที่ปรากฎในร่างคน เป็นต้น
ชีวิตในวัยหนุ่มของพระกฤษณะผ่านประสบการณ์มากมาย โดยเฉพาะการโน้มน้าวให้คนเลี้ยงโคเลิกเซ่นบวงสรวง พระอินทร์
โดยให้ไปบูชาภูเขาโควรรธนะแทน ทำให้พระอินทร์พิโรธ บันดาลให้เกิดพายุ ฝนตกหนักตลอดทั้งเจ็ดวันเพื่อเป็นการลงโทษ
แต่พระกฤษณะใช้นิ้วเพียงนิ้วเดียวยกภูเขาโควรรธนะขึ้นกำบังฝูงคนเลี้ยงโคเอาไว้
กระทั่งท้ายที่สุด พระอินทร์ได้ทรง ช้างไอราวตะ พร้อมกับ แม่วัวสุรภี ลงมาเคารพพระกฤษณะ
ในเรื่องความรัก เมื่อพระกฤษณะเติบโตเป็นหนุ่ม ก็เป็นที่หมายปองของเหล่า นางโคปี (ภรรยาคนเลี้ยงโค) ทั้งหลาย
วันหนึ่ง ขณะที่เหล่าโคปีกำลังอาบน้ำที่ แม่น้ำยมุนา และต่างขอพรให้ตนได้สมปรารถนาในรัก
พระกฤษณะได้มาขโมยเสื้อผ้าของพวกนางและหนีไปซ่อนอยู่บนต้นไม้ จากนั้นพระกฤษณะก็เรียกนางโคปีที่เปลือยกายให้ขึ้นจากน้ำ
เพื่อมารับเสื้อผ้าคืน เมื่อได้หยอกล้อเหล่าโคปีแล้ว พระกฤษณะก็สัญญาว่า พระองค์จะไปเต้นรำร่วมกับเหล่านางโคปีในฤดูใบไม้ร่วงครั้งหน้า
ครั้นถึงฤดูใบไม้ร่วงในคืนที่แสงจันทร์สว่างไสว พระกฤษณะได้เป่าขลุ่ยเรียกเหล่านางโคปีเหล่านั้นให้แอบหนีสามีที่กำลังหลับเข้ามาในป่า
จากนั้นก็ได้เต้นรำกัน นางโคปีทุกคนต่างรู้สึกเคลิบเคลิ้มเหมือนว่าตนได้เต้นรำกับพระกฤษณะในลักษณาการของคู่รัก
การเต้นรำนี้ยาวนานถึงหกเดือน จากนั้นทั้งหมดก็ได้ไปอาบน้ำที่แม่น้ำยมุนาร่วมกัน เมื่อนางโคปีกลับบ้านก็จำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น
ในบรรดานางโคปีทั้งหมด มีหญิงคนหนึ่งที่ถือเป็นคู่รักคนสำคัญของพระกฤษณะ
นางมีนามว่า “ราธา” (พระแม่ราธาเทวี คู่รักพระกฤษณะ)
มีบทบรรยายถึงความรักระหว่างคนทั้งสองอยู่มากมาย
ฝ่ายพญากังสะยังไม่สิ้นความพยายามที่จะสังหารพระกฤษณะ ได้ส่ง อสูรสังกาสูร (Sankhasura)
เข้ามาทำร้ายนางโคปีที่มาอยู่กับพระกฤษณะและพระพลราม พระกฤษณะได้เข้าต่อสู้และตัดหัวของสังกาสูรได้สำเร็จ
ในคืนต่อมาก็มีอสูรวัวเข้ามาทำร้ายอีก ซึ่งก็ถูกพระกฤษณะจับหักคอจนสิ้นชีพ
โหราจารยฺ์ของพญากังสะทำนายว่า พระกฤษณธจะมาสังหารพญากังสะ พญากังสะจึงจับตัวนางเทวากีและวสุเทวะจองจำไว้
พร้อมกับวางแผนสังหารพระกฤษณะอีก โดยเชิญให้เข้ามาในเมืองมถุรา
และได้ส่งอสูรรูปม้าชื่อ "เกศิน" (Kesin) ไปลอบทำร้ายระหว่างทาง แต่ก็ถูกพระกฤษณะเอากำปั้นยัดใส่ปากจนสิ้นชีพ
นอกจากนี้ ยังส่งอสูรหมาป่าที่แปลงร่างเป็นขอทานมาทำร้าย แต่พระกฤษณะก็ล่วงรู้กลอุบายและปราบได้สำเร็จ
หลังจากนั้น พญากังสะได้ให้อำมาตย์เอกนาม อกุระ (Akrura) เชื้อเชิญพระกฤษณะเข้าไปในเมืองแต่อกุระเป็นผู้ที่ภักดีต่อพระกฤษณะ
จึงเล่าความจริงเกี่ยวกับแผนร้ายของพญากังสะว่า พญากังสะต้องการลวงพระกฤษณะไปสังหารในเมือง
พระกฤษณะและพลรามเดินทางเข้าไปในเมือง ทำลายธนูของศิวะ สังหารคนเฝ้าประตูเมือง จากนั้นปราบช้างกุวัลยปิยะ
และต่อสู้กับนักมวยปล้ำจาณูระและมุสติกะ ท้ายที่สุด พระกฤษณะได้ลากตัวพญากังสะลงมาจากบัลลังก์ และใช้กำปั้นทุบจนสิ้นชีพ
จากนั้นก็ได้มอบราชสมบัติคืนให้กษัตริย์อุครเสนตามเดิม โดยพระกฤษณะอาศัยอยู่กับนางเทวากีระยะหนึ่ง
พระกฤษณะได้ปราบอสูรอีกหลายครั้ง ในที่สุด พระองค์ก็ได้ออกไปหาทำเลสร้างเมืองใหม่
โดยให้พระวิศวกรรมเนรมิตเมืองให้เสร็จภายในคืนเดียว จากนั้นย้ายตระกูลยาฑพออกไปยังเมืองใหม่ นามว่า "ทวารกา"
เมื่อย้ายมาอยู่เมืองทวารกาแล้ว พระกฤษณะก็ออกเสาะแสวงหาชายาให้กับพระองค์เองและพระพลราม
พระพลรามได้แต่งงานกับ นางเรวาตี (Revati) ส่วนพระกฤษณะเข้าพิธีแต่งงานกับ นางรุกมินี (Rukmini)
แต่ก่อนหน้านั้น ก็ต้องต่อสู้กับ "รุกมา"และ "สีสุปาละ" พี่ชายของนางรุกมินี ซึ่งเป็นญาติของพระกฤษณะ และหมายปองนางรุกมินีเช่นกัน
หลังการแต่งงาน พระกฤษณะก็ยังต่อสู้กับอสูรอื่นๆ อีกมากมาย และได้ชายามาอีก 7 องค์ เช่น
นางชามภวาตี (Jambavati) บุตรีของชามภูวาล ผู้เป็นกษัตริย์แห่งหมี นางสัตยภามา (Satyabhama) ธิดาของสัตราชิต
นางกัลลินดิ (Kalindi) ธิดาของพระอาทิตย์ และชายาอีก 4 องค์จากการปราบปรามอสูรตนอื่นๆ
ภารกิจสำคัญอีกครั้งหนึ่งคือการปราบ นาระกะ (Naraka) ซึ่งเป็นกษัตริย์ของ ปักโยทิชา (Pragiyotisha)
นาระกะได้รับพรจากมหาเทพทั้งสามให้เป็นผู้ที่ไม่มีใครเสมอเทียมได้ สร้างเดือดร้อนแก่เหล่าเทวดา
ถึงขั้นไปยึดเอาตุ้มหูของนางอทิติ(ผู้เป็นมารดาของเหล่าเทพ)
จากนั้นก็ไปยึดเอามงกุฏของพระอินทร์มาสวมใส่และยึดนางอัปสร ๑๖,๐๐๐ องค์ไปจากสวรรค์
ท้ายที่สุดยังแปลงร่างเป็นช้างไปข่มขืนธิดาของ พระวิศวกรรม ด้วย
พระกฤษณะได้บุกไปยังเมืองของนาระกะ ปราบอสูรตนนี้ จากนั้นจึงนำสิ่งของที่ถูกยึดคืนกลับไปให้เจ้าของ
ส่วนนางอัปสรทั้งหมดนั้น พระองค์นำกลับไปยังเมืองทวารกา และแต่งงานกับทุกนาง (พระกฤษณะมีชายาทั้งหมด ๑๖,๑๐๘ นาง)
ความที่มีชายามากมายจึงเกิดเรื่องราวอยู่หลายครั้ง
เช่น ครั้งหนึ่งพระกฤษณะมอบดอกปาริชาต (ดอกไม้สวรรค์ที่เกิดจากการกวนเกษียรสมุทร
พระอินทร์เป็นผู้ดูแลรักษาไว้ในเขตของสวรรค์ของพระองค์) แก่นางรุกมินี ปรากฎว่านางสัตยภามาก็ต้องการบ้าง
พระกฤษณะจึงบุกขึ้นไปบนสวรรค์ของพระอินทร์เกิดสู้รบกัน ในที่สุดพระกฤษณะนำต้นปาริชาตมาไว้ยังเมืองทวารกาได้สำเร็จ
แต่หลังจากนั้นหนึ่งปีก็คืนให้พระอินทร์นำไปปลูกไว้ที่เดิม
ในมหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ที่รู้จักกันในนาม “มหาภารตยุทธ” ซึ่งรจนาเป็นมหากาพย์ในชื่อ “มหากาพย์มหาภารตะ”
อันเป็นสงครามระหว่าง ตระกูลปาณฑพ กับ ตระกูลเการพ นั้น พระกฤษณะเป็นสารถีให้ ฝ่ายปาณฑพ และสอน ท้าวอรชุน
(หนึ่งในห้าของพี่น้องตระกูลปาณฑพ) ไว้ใน “ภัควัตคีตา” วรรณคดีอันมีชื่อเสียง
ท้ายที่สุดฝ่ายตระกูลปาณฑพก็มีชัยในสงครามครั้งนี้
เมื่อได้เวลาอันสมควร ก็ถึงกาลที่พระกฤษณะจะกลับไปยังไวกูณฐ์สถานของพระองค์
เหตุการณ์มีอยู่ว่า ครั้งหนึ่ง หมู่กษัตริย์ยาฑพเมาสุรา ทะเลาะวิวาทปลงพระชนท์กันเอง พระกฤษณะพยายามห้ามปราม แต่ก็ไม่เป็นผล
พระองค์จึงหลบหนีเข้าไปในป่า บังเอิญขณะนั้น มีพรานป่าออกล่าสัตว์ พรานผู้นั้นสำคัญผิดว่า
พระกฤษณะเป็นสัตว์จึงยิงพระองค์ด้วยธนูถูกที่ "ข้อเท้า" อันเป็นจุดชีวิตของพระกฤษณะ จนสิ้นพระชนม์
ส่วนพระพลรามสิ้นพระชนม์ใกล้ชายฝั่งทะเล กลับไปเป็นเศษะนาคอันเป็นร่างเดิมและคืนกลับสู่เกษียรสมุทร
เมื่อข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระกฤษณะล่วงรู้ไปถึงในเมือง พระวสุเทวะ นางเทวากี ตลอดจนนางโรหินีก็สิ้นพระชนม์ตามไปด้วย
จากนั้นไม่นานก็เกิดน้ำท่วมใหญ่จนเมืองทวารกาจมหายไปในที่สุด

พระกฤษณะกับเหล่านางโคปี
 รูปเคารพพรกฤษณะค่อนข้างมีรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ทรงมีประวัติยาวนาน
จึงมีภาพสลักเรื่องราวแสดงเหตุการณ์สำคัญหลายตอน

พระกฤษณะในมหาภารตยุทธ


รูปเคารพของพระกฤษณะโดดเด่นคือ
จะมีโค พระกฤษณะจพทัดขนยูงที่ผมและทรงขลุ่ย


บรมมหานารายณ์ทศอวตาร ตอน รามาวตาร

ทศอวตารนารายณ์เทพ ตอน รามาวตาร



ชาตินี้มึงมีแต่สองหัตถ์  จงไปอุบัติเอาชาติใหม่
มีสิบเศียรสิบพักตร์เกรียงไกร  เหาะเหินเดินได้ในอัมพร
มียี่สิบกรทั้งซ้ายขวา ถือคทาอาวุธธนูศร
กูจะเป็นมนุษย์แต่สองกร  ตามไปราญรอนชีวิน
จากเรื่องรามเกียรติ บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

            ปางอวตารลำดับที่เจ็ดในอวตารทั้งสิบภาคใหญ่ของพระนารายณ์มีชื่อเรียกว่า รามาวตาร คืออวตารมาเป็นพระรามเพื่อสังหารท้าวราพณ์หรือทศกัณฐ์และโคตรวงศ์ที่ก่อกวนไตรโลก โดยมีเหตุแห่งการทำสงครามมากจากการที่ทศกัณฐ์ลักพาตัวนางสีดาไป พระรามจึงต้องไปตามคืนมาเกิดเป็นสงครามนานกว่า 14 ปี คนไทยรู้จักเรื่องนี้ในชื่อว่า รามเกียรติ์ และคนอินเดียรู้จักในนาม รามายณะ ซึ่งเป็นมหากาพย์ใหญ่สรรเสริญพระคุณของพระรามและการสงครามอันยิ่งใหญ่ เป็นหนึ่งวรรณกรรมเอกของโลกที่แพร่หลายเเละเป็นที่รู้จักมากที่สุดด้วย ด้วยเรื่องราวนั้นยาวมากแต่จะขอตัดสั้นเริ่มที่...
           
อวตารครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อกำจัด ท้าวราพณ์ หรือ ทศกัณฐ์ กษัตริย์แห่งกรุงลงกา ซึ่งมี ๑๐ เศียร อสูร ท้าวราพณ์บำเพ็ญตบะเช่นเดียวกับ เหรันตยักษ์ และ เหรัณยกศิปุ ที่บำเพ็ญตบะก็เพื่อความอมตะ เมื่อพบความเป็นอมตะ และประจบประแจง พระศิวะ จนท่านเมตตา มันก็เริ่มประหัตประหารเทพเจ้าและมนุษย์ พระวิษณุ จึงอวตารลงมาเป็นโอรสองค์โตของมหากษัตริย์ ทศรถ แห่งกรุงอโยธยา ซึ่งจัดพิธีบูชายัญม้าเป็นประจำ ทรงพระนามว่า พระราม มีพระอนุชาต่างมาดาคือ พระภรต พระลักษมณ์ และ พระศัตรุต กล่าวกันว่าพระอนุชาของพระองค์ทรงแบ่งรูปลักษณ์มาจากพระวิษณุด้วย


ท้าวราพณ์หรือทศกัณฐ์
 พระราม และ พระลักษณ์ ทรงสนิทสนมกันมาก และได้ฆ่าอสูรที่ฆ่าพราหมณ์ไปเป็นจำนวนมาก วันหนึ่งขณะทรงพระเยาว์ ทั้งสองพระองค์ได้ยินข่าวว่า นางสีดา ธิดาแสนสวยของ กษัตริย์ชนก จะอภิเศกกับผู้ที่สามารถโก่งคันศรของพระศิวะได้ พระรามโก่งคันศรได้ และได้อภิเษกกับนางสีดา ซึ่งก็คือ พระลักษมี อวตารลงมานั่นเอง หลังจากทรงอภิเษกได้ไม่นาน พระทศรถก็สละราชสมบัติ และได้ประกาศนามของผู้ที่จะมารับตำแหน่งใหม่ ในเวลาเดียวกันขณะที่พระภรตไม่อยู่นั้น บริวารของ พระมเหสีไกยเกษี (Kaikeyi) ผู้เป็นพระมารดาของภรต ก็กล่าวให้ร้ายพระราม ทำให้พระนางไม่พอพระทัยพระราม ทรงเป็นที่รักใคร่มากกว่า จึงทรงยุยงและบังคับให้พระทศรถ ยอมยกราชสมบัติทั้งหมดให้ภรต ทั้งยังเนรเทศพระรามออกไปอยู่ป่าเป็นเวลา ๑๔ ปี โดยมีนางสีดา และพระลักษณ์คอยติดตามพระรามไปด้วย ประชาชนและภรตต่างเศร้าโศกกับการจากไปของพระรามมาก จนพระทศรถ ทรงเสด็จสวรรคตในอีก ๑ สัปดาห์ต่อมา

หนุมานทหารเอกของพระราม
สัญลักษณ์ของความกล้าและซื่อสัตย์

เมื่อ พระภรต ทรงเสด็จกลับมาและทราบข่าว พระองค์ทรงพิโรธพระมารดามาก ทรงเสด็จออกตามหาพระรามเพื่อเชิญเสด็จกลับวัง แต่พระรามไม่ทรงกลับ พระภรตจึงเสด็จกลับเมืองอโยธยา และครองราชสมบัติแทน โดยมี พระบาท ของพระรามอยู่บนราชบัลลังก์ เป็นเครื่องหมายแสดงถึงกษัตริย์ที่มีสิทธิ์อันชอบธรรม

ในช่วงที่อยู่ในป่านางยักษี ผู้เป็นขนิษฐาของท้าวราพณ์ได้หลงรักพระราม แต่พระรามทรงอภิเษกแล้ว จึงให้นางไปสนพระทัยพระลักษมณ์ซึ่งยังไม่อภิเษกดีกว่า แต่พระลักษมณ์ก็ผลักไสนาง นางจึงสงสัยว่าพระลักษณ์คงแอบหลงรักนางสีดาอยู่ นางยักษีจึงทำร้ายนางสีดา และพยายามจะกินนางสีดา แต่พระลักษมณ์มาช่วยไว้ได้ทัน โดยทรงตัดจมูก หู และอกของนางยักษี

นางจึงส่งอนุชาพร้อมกองทัพยักษี ๑๔,๐๐๐ ตนมาล้างแค้น แต่พระรามก็เอาชนะได้ นางจึงไปยุยงให้ท้าวราพณ์ว่านางสีดางดงามมาก และเหมาะสมกับท้าวราพณ์ ท้าวราพณ์จึงลักพาตัวนางไปโดยส่งกวางไปล่อ นางสีดาอยากได้กวาง พระราม พระลักษณ์จึงออกไปจับกวาง จากนั้นท้าวราพณ์ในรูปของฤาษีก็จับนางขึ้นรถ เหาะไปยังกรุงลงการะหว่างทาง นกชฎายุ หรือร่างอวตารของ พญาครุฑ พาหนะของพระวิษณุ ได้ต่อสู้กับอสูรราพณ์แต่ไม่สามารถเอาชนะได้ ชฎายุจึงพาร่างจวนเจียนจะสิ้นใจกลับมาส่งข่าวแก่พระราม เมื่อมาถึงกรุงลงกา ท้าวราพณ์พยายามเกี้ยวพาราสีนางสีดา แต่นางก็ไม่ใจอ่อน ท้าวราพณ์จึงบังคับให้นางอภิเษกด้วย ถ้านางไม่ยินยอมจะฆ่าและกินนางเสีย แต่นางสีดาก็รอดมาได้ เนื่องมาจากหนึ่งในบรรดาชายาของท้าวราพณ์ ที่ถูกฉุดคร่า มาสาปแช่งว่า ท้าวราพณ์จะต้องตายถ้าฉุดคร่าหญิงอื่นอีก

พระรามทราบข่าวนางสีดาจากนกชฎายุ แล้วทำการปลงศพให้นกชฎายุ จากนั้นก็รีบตามไป ระหว่างทางพบกับ สุครีพ โอรสของพระอินทร์ ซึ่งถูก พาลี พระเชษฐาร่วมพระมารดา เนรเทศออกมาจากอาณาจักรของตน สุครีพ จึงตอบแทนความช่วยเหลือที่ช่วยรบจนได้อาณาจักรคืนมา โดยส่งกองทัพลิงและหมีไปช่วยพระรามและพระลักษณ์ ซึ่งมีหนุมานโอรสของพระวายุเป็นแม่ทัพเดินทางไปกรุงลงกา
หนุมานเหาะข้ามทะเล และลอบเข้ากรุงลงกาเพื่อสอดแนม ขณะนั้นนางสีดา นั้งอยู่ในสวนแต่เพียงลำพัง หนุมานได้แสดงแหวนจารึกพระนามของพระรามเป็นหลักฐาน และบอกแผนการแก่นาง แต่ด้วยความลิงโลดที่ลอบเข้ามาได้ หนุมานก็ดึงต้นไม้ในสวนเล่น ทำให้ถูกจับได้ และถูกส่งไปให้ท้าวราพณ์ ยักษาสั่งให้เผาหางหนุมานโดยผ้าชุบน้ำมันผูกที่หาง แต่หนุมานใช้จังหวะที่ถูกเผาหางอยู่นี้ กระโดดหนีออกมาได้ และไฟจากหางนี่เองทำให้เกิดไฟไหม้กรุงลงกา
หนุมานกลับมาส่งข่าวต่อพระรามว่า ท้าวราพณ์มีป้อมปราการที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งสร้างโดยพระวิศวกรรมให้แก่กุเวร เจ้าแห่งความมั่นคง เมืองมีอาณาเขตกว้างขวางส่วนมากสร้างด้วยทอง ล้อมรอบด้วยคูเมืองกว้างและกำแพงนี้สร้างด้วยหินและโลหะ ซึ่งมาจากยอดเขาพระสุเมรุ ในระหว่างที่หนุมานเข้าไปในกรุงลงกา พลพรรคของพระรามได้ช่วยกันสร้างสะพานกัน และแล้วเสร็จเมื่อหนุมานกลับมา แม้จะมีอสูรจากใต้ทะเลมาก่อกวนก็ตาม หัวหน้าช่างที่สร้างสะพานคือหัวหน้าลิงชื่อ นล โอรสของพระวิศวกรรม ซึ่งมีพลังทำให้ก้อนหินลอยบนน้ำได้ บางครั้งสะพานนี้ได้รับการเรียกว่า นลเสตุ (สะพานของนล) แต่ปกติจะมีชื่อว่า สะพานของพระราม

เมื่อพระรามและกองทัพข้ามไปได้ ศึกครั้งยิ่งใหญ่ก็เริ่มตรงทางเข้าเมือง พระลักษณ์ถูกโอรสของท้าวราพณ์นามว่า อินทรชิต ทำร้าย แต่หนุมาน ก็ใช้สมุนไพรที่หาได้บน เทือกเขาหิมาลัย มารักษา ในระหว่างนั้นพระอนุชาของท้าวราพณ์ได้กินลิงเป็นร้อยตัวเข้าไป แต่ในที่สุดแล้ว พวกยักษ์ ก็ถูกฆ่าจนหมด การต่อสู้ของพระราม และอสูรราพณ์ก็จบลง โดยในครั้งแรกพระราม ยิงศรใส่ท้าวราพณ์ แต่ยิงไม่เข้า พระรามจึงใช้อาวุธวิเศษที่ได้รับจากฤาษีอกัสยตะ ซึ่งเป็นนักพรตที่มีชื่อเสียงและเป็นศัตรูของพวกยักษ์ กล่าวกันว่าอาวุธนี้เป็นแหล่งรวมพลังของบรรดาเทพเจ้าไว้ และรู้จักกันดีในฐานะเป็นอาวุธของพระพรหม ขว้างออกไปตัดอกของท้าวราพณ์ เหล่าเทวดาพากันโปรยมาลัยดอกไม้ลงมาอวยพรในชัยชนะของพระราม และกองทัพลิงที่เสียชีวิตก็กลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง

แม้พระรามจะพบนางสีดาอีกครั้ง แต่พระองค์ก็เย็นชากับนาง เนื่องจากพระรามไม่ทรงเชื่อว่านางสีดา จะยังคงภักดีกับพระองค์อยู่ นางสีดาจึงลุยไฟเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ใจของนาง เมื่อนางลุยไฟ ท้องฟ้าได้ประกาศว่านางบริสุทธิ์ และพระอัคนีเทพแห่งไฟ ได้นำนางไปประทับต่อเบื้องพระพักตร์ของพระราม ซึ่งยอมรับในตัวนางแล้ว จริงๆแล้วพระรามไม่เคยสงสัยในตัวนาง เพียงแต่ประสงค์จะให้นางทดสอบต่อหน้าธารกำนัลเท่านั้น

วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บรมมหานารายณ์ทศอวตาร ตอน ปรศุรามวตาร

ทศอวตารนารายณ์เทพ ตอน ปรศุรามวตาร

ฉภาคพระบรมเทพนาถา อวตารแบ่งภาคเป็นปรศุราม
ทรงขวานเพชรสังหารล่าแค้นแทนมารดา พระอรชุนกษัตราผู้หยาบคาย
ด้วยความแค้นเคียดจิตพิศวง ไม่ยอใกลับไปรวมภาคบนสวรรค์
ตามไล่ล่าสังหารสุริยวงศ์กษัตริย์ จนพราหมณ์ต้องโยนิช่วยเผ่ากษัตริย์เอย

         ปางอวตารที่ 6 ของพระนารายณ์คือปรศุรามวตาร ทรงอวตารมาเป็นพราหมร์ถือขวานเพชรเพื่อสังหารพระอรชุนหรือพญากรรติเกร์ กษัตริย์มนุษย์ผู้หยาบช้า แต่ภาคนี้มีความพิเศษและดูไม่น่าจะมาเป็นภาคอวตารของพระนารายณ์ได้เพราะปรศุรามอุดมไปด้วยความแค้น ผิดกับปางอวตารอื่นๆทั้งเมื่อเสร็จภารกิจก็ไม่ยอมกลับไปรวมภาคกับพระนารายร์ เรียกว่าดื้อรั้นความความคิดเป็นของตนมากยังอยู่บนโลกและไล่ล่าสังหารเหล่ากษัตริย์จนเกือบหมดทำให้นางกษัตริย์หมายต้องมาร้องขอให้เหล่าพราหมณ์ช่วยเหลือบังเกิดประเพณีโยนินั้นเอง โดยเรื่องมีดังนี้
        แคว้นกานยสุภชะ มีพระราชาพระองค์หนึ่งนาม คาธิราชนรินทร์ มีพระธิดาสวยงามมากมีพระนามว่า สัตยวดี วันหนึ่งฤาษีเฒ่าอยู่ตนหนึ่งชื่อ ฤจิก ได้มาสู่ขอ ซึ่งนางสัตยวดีได้ตอบตกลง แต่พระราชาทรงไม่ยอม ได้ตั้งเงื่อนไขว่า ให้ฤาษีฤจิกไปนำม้าขาวที่มีหูเป็นสีดำหนึ่งพันตัวมาเป็นสินสอด ฤาษีฤจิกจึงบวงสรวงพระวรุณเทพเจ้าแห่งน้ำและขอประทานม้าขาวที่มีหูเป็นสีดำหนึ่งพันตัวซึ่งพระวรุณก็ประทานให้ ฤาษีฤจิกจึงได้อภิเษกกับนางสัตยวดีและกลับเข้าป่าไปวันหนึ่งนางสัตยวดีต้องการมีบุตร ฤาษีจึงกวนข้าวทิพย์ขึ้นมาสองจาน จานหนึ่งให้นางสัตยวดีทานซึ่งจะให้กำเนิดบุตรชายที่มีใจกุศล รักสันโดษ เพื่อมาเป็นพราหมณ์ที่มีศีลธรรม อีกจานหนึ่งให้พระมารดาของนางสัตยวดีซึ่งจะให้กำเนิดบุตรชายที่มีฤทธิ์เดช จิตใจกล้าหาญ และมีอำนาจ เมื่อฤาษีเข้าไปบำเพ็ญตบะ พระมารดาจึงบอกให้สลับจานข้าวทิพย์เพราะพระมารดาต้องการให้พระธิดาไม่ต้องอับอายที่มีลูกเป็นพราหมณ์ทั้งที่อยู่ในวรรณะกษัตริย์มาก่อน แต่พระมารดามีบุตรชายที่มีความสามารถอยู่แล้วจึงไม่เป็นอะไรที่จะให้กำเนิดลูกชายอีกองค์เป็นพราหมณ์ เมื่อได้ฟังนางสัตยวดีจึงยอมเปลี่ยนจานข้าว เมื่อฤาษีฤจิกกลับมาทราบเรื่องก็โกรธที่นางสัตยวดีไม่ทำตามที่สั่ง จนนางสัตยวดีต้องไปกราบขอโทษ ฤาษีฤจิกทำพิธีกรรมให้กลับเป็นอย่างเดิมที่ตนตั้งใจไว้ตั้งแต่คราวแรก และเลื่อนให้การมีบุตรที่มีฤทธิ์เดชเกิดในคราวหลานไปต่อมานางสัตยวดีก็ให้กำเนิดบุตรชายรูปงามชื่อว่า ชมทัคคี ซึ่งได้บวชเป็นพราหมณ์และถือว่าเป็นยอดแห่งพราหมณ์ และได้ไปสู่ขอนางเรณุกาจากพระเจ้าปเสนชิต และได้มีบุตรชายด้วยกันห้าคน ซึ่งคนสุดท้ายมีชื่อว่ารามหรือรามฤทธิรุทรซึ่งเป็นพระนารายณ์อวตารลงมา รามเป็นที่ชื่นชอบของพระศิวะ พระศิวะจึงประทานขวานเพชรให้จึงทำให้เปลี่ยนชื่อเป็น ปรศุรามวันหนึ่งขณะที่ฤาษีชมทัคคีเข้าป่าหาผลไม้ นางเรณุกาเดินไปเพื่ออาบน้ำที่ลำธารตามปกติ นางเรณุกาก็ได้ยินเสียงดังแว่วมาจากลำธาร นางเรณุกาจึงแอบดูอยู่หลังพุ่มไม้ ซึ่งนั่นคือเสียงของพระราชาจิตรสแห่งเมืองมฤติกาวดีกับพระมเหสีกำลังพลอดรักกันอยู่ในลำธาร นางเรณุกาจึงเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจว่า ตนเองนั้นทั้งที่เป็นธิดากษัตริย์แต่กลับต้องทำงานเยี่ยงบ่าวไพร่ และไม่มีเวลาได้อยู่กับฤาษีชมทัคคี จึงได้กระโดดลงน้ำเพื่อให้กายเย็นลงแต่ใจนั้นยังร้อนรุ่ม ต่อมานางเรณุกาได้กลับมาที่อาศรมแต่เกิดอาการกระวนกระวายนึกถึงแต่ภาพที่เห็นของพระราชาจิตรสกับพระมเหสีเมื่อฤาษีชมทัคคีกลับมาจากป่าเห็นนางเรณุกาผิดแปลกไปจากปกติจึงเอ่ยถาม นางเรณุกาจึงเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง จึงทำให้ฤาษีชมทัคคีโกรธว่าทำไมนางเรณุกาถึงมีจิตใจลามกชั่วช้าเช่นนี้ และได้สั่งให้บุตรชายคนโตรุวัณวัตสังหารนางเรณุกาเสีย แต่รุวัณวัตไม่สามารถทำได้ ฤาษีชมทัคคีจึงสั่งบุตรชายคนที่สองไปจนกึงคนที่สี่แต่ก็ไม่มีใครสามารถทำได้ ฤาษีจึงโกรธมากและสาปให้ คนหนึ่งเป็นคนโง่ คนหนึ่งเป็นคนบ้า คนหนึ่งเป็นคนเสียสติ คนหนึ่งเป็นคนวิกลจริต ในขณะนั้นปศุรามกลับมาที่อาศรมพอดี ฤาษีชมทัคคีจึงเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังและสั่งให้ปรศุรามสังหารมารดาเสีย ปรศุรามไม่อยากสังหารมารดาแต่ก็ไม่อยากขัดคำสั่งพ่อ และไม่อยากเป็นเช่นพี่ชายทั้งสี่คน จึงก้มลงกราบลงที่เท้าของนางเรณุกาและนำขวานเพชรฟันพระศอของนางขาดกระเด็นเมื่อสังหารนางเรณุกาแล้ว ฤาษีชมทัคคีได้ชื่นชมปรศุรามและได้ให้พรสามประการ ปรศุรามจึงขอพรดังนี้ หนึ่งขอให้นางเรณุกาฟื้น สองขอให้พี่ชายทั้งสี่กลับมาเป็นคนปกติ สามขอให้ตนเองมีฤทธิ์เดช อายุยืน มีเกียรติแบบพราหมณ์ ซึ่งฤาษีชมทัคคีก็ประทานพรให้ และทั้งหมดก็อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขตัดมาทางนครมหิษบดีปุระ มีกษัตริย์พระองค์หนึ่งมีชื่อว่า อรชุน ซึ่งเป็นพระโอรสของท้าวปิตวีระ ท้าวอรชุนนั้นจึงมีฉายาว่า การตวีรยะ ท้าวอรชุนนั้นได้ร่ำเรียนกับพระฤาษีทัตตไตย และเป็นที่โปรดปราณของพระฤาษี ฤาษีทัตตไตยจึงประทานพร ขออะไรก็จะให้ ท้าวอรชุนจึงขอพรดังนี้ หนึ่งขอให้มีแขนพันแขน มือพันมือ สองมีรถบุษบกทองสามารถลอยล่องไปได้ทุกที่ สามมีอำนาจในการปราบทุจริต สี่เป็นพระราชาชนะหรือเป็นผู้มีอำนาจในสากลพิภพรบที่ไหนชนะที่นั่น ห้ามีจิตใจรู้รับผิดชอบชั่วดีปกครองโดยธรรม หกรบกับใครขอให้ชนะ และข้อสุดท้าย เจ็ดถ้าจะตายขอให้ตายด้วยมือของผู้มีเกียรติทั่วโลก ซึ่งพระฤาษีก็ประทานพรให้ตามนั้นท้าวอรชุนปกครองบ้านเมืองด้วยความสงบสุข นครมหิษบดีปุระในยุคสมัยของอรชุนนั้นอยู่ยืนยาวถึงแปดพันห้าร้อยปี และเมื่อมีสงครามก็ชนะทุกครั้งไป จนไปเข้าหูของท้าวราพนาสูรหรือทศกัณฐ์ซึ่งครองกรุงลงกา จึงเกิดความไม่พอใจอิจฉาริษยา จึงจัดทัพจากกรุงลงกาไปท้ารบถึงนครมหิษบดีปุระ แต่ท้าวอรชุนไม่อยู่ในเมือง ท้าวราพนาสูรจึงยกทัพตามไป จนใกล้จะถึงจุดหมายท้าราพนาสูรจึงจัดการทำพิธีกองไฟบูชาพระศิวะเพื่อให้ได้ชัยชนะในการรบ ขณะที่ท้าวอรชุนซึ่งไม่รู้ว่าท้าวราพนาสูรได้ยกทัพมา จึงชวนนางสนมกำนัลไปเล่นน้ำในแม่น้ำ และหยอกล้อกันโดยการนำมือหนึ่งพันมือมาทำเป็นเขื่อนกั้นน้ำไม่ให้ไหล น้ำที่ถูกกั้นจึงเอ่อล้นสู่ผืนดินและไปพัดทำลายสิ่งของที่ท้าวราพนาสูรทำพิธีไปจนหมด ท้าวราพนาสูรจึงโกรธมากและยกทัพไปจัดการทัพของท้างอรชุนซึ่งไม่ได้จัดเตรียมการรบมาก่อน จึงทำให้แพ้ถอยร่นไปจนถึงลำธารที่ท้าวอรชุนเล่นน้ำอยู่ เมื่อทราบเรื่องท้าวอรชุนจึงจับกระบองขึ้นไล่ฟาดฟันกองทัพของท้าวราพนาสูรไปจนถึงราชรถของท้าวราพนาสูร จึงตรัสว่า มารบกันตัวต่อตัวจะเป็นการดีเสียกว่าการรบที่ทำให้เสียไพร่พลไปโดยเปล่าประโยชน์ ท้าวราพนาสูรจึงตกลงและพ่ายแพ้ไปในที่สุด ท้าวอรชุนจึงจับท้าวราพนาสูรมัดขาไว้กับรถแล้วขับรถลากประจานไปทั่วเมือง และนำไปผูกกับเสาประจาน สร้างความอับอายให้กับท้าวราพนาสูรเป็นอย่างมาก ร้อนไปถึงฤาษีนาถมุนี ฤาษีนาถมุนีจึงไปหาฤาษีเปาสัตยะให้ช่วยไปขอโทษท้าวอรชุน จนท้าวอรชุนอ่อนใจให้เสนาอำหมาตไปปล่อยตัวท้าวราพนาสูรและให้นำตัวมาพบ ท้าวราพนาสูรเมื่อได้เจอท้าวอรชุนจึงก้มลงกราบด้วยความอายและรู้สึกเป็นคุณที่ได้รับการให้อภัย ท้าวอรชุนให้อภัยท้าวราพนาสูร และตกลงที่จะสาบานเป็นพี่น้องกันต่อหน้าฤาษีเปาสัตยะท้าวอรชุนเมื่อปราบท้าวราพนาสูรได้ทุกคนก็ต่างนับถือให้ความเคารพมากยิ่งขึ้น เมื่อมีเรื่องอะไรกันก็จะให้ท้าวอรชุนตัดสิน บรรดาวรรณะกษัตริย์ก็ยอมอยู่ใต้พระบารมีของท้าวอรชุน เวลาที่วรรณะกษัตริย์มีเหตุกับวรรณะพราหมณ์ก็ให้ท้าวอรชุนช่วย ซึ่งท้าวอรชุนก็จัดการกับพราหมณ์ฤาษี จนพราหมณ์พ่ายแพ้ไปเสียทุกครั้ง ไม่เว้นแม้แต่พราหมณ์ที่ดีมีคุณธรรม บรรดาพราหมณ์จึงรวมกันไปเข้าเฝ้าพระนารายณ์ พระนารายณ์จึงอวตารลงมาเป็นปรศุรามครั้งหนึ่งท้าวอรชุนได้ไปมีเรื่องกับฤาษีวสฤษ จึงยกทัพไปล้อมอาศรม แต่เนื่องจากฤาษีวสฤษนั้นมีโควิเศษคือโคสุรพีซึ่งได้มาจากการกวนเกษียณสมุทร ฤาษีวสฤษจึงให้โคสุรพีนิรมิตกองทัพมาสู้รบจนท้าวอรชุนพ่ายแพ้ไปท้าวอรชุนเมื่อได้รับความพ่ายแพ้จึงหนีเข้าป่าล่าสัตว์ไปเรื่อย จนได้พบอาศรมของฤาษีชมทัคคี ซึ่งในขณะนั้นนางเรณุกาอยู่แต่เพียงผู้เดียว ได้เชื้อเชิญต้อนรับท้าวอรชุนอย่างดี และได้เรียกโควิเศษซึ่งเป็นโคสุรพีเช่นเดียวกับโคของฤาษีวสฤษ และให้โคสุรพีเสกน้ำอาหารมาถวายท้าวอรชุนและผู้ติดตาม ท้าวอรชุนเมื่อเห็นโคสุรพีจึงเกิดความโลภและได้เอ่ยปากขอ แต่นางเรณุกาไม่ให้ เพราะถ้าไม่มีโคก็จะไม่มีอาหารทาน แต่ท้าวอรชุนมีสมบัติมากมายอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นใดๆที่ต้องการโคสุรพี ท้าวอรชุนจึงเอ่ยปากขอลูกโคแทน แต่นางเรณุกาไม่ต้องการให้พรากลูกโคออกจากแม่โคจึงไม่อนุญาต ท้าวอรชุนไม่ยอมจึงแสดงความไม่พอใจด้วยการตัดต้นไม้รอบๆอาศรมทิ้งและจับลูกโคสุรพีไป แล้วตรัสว่าใครมาขัดขวางจะลงโทษ แล้วยกทัพออกจากอาศรมกลับเมืองเมื่อฤาษีชมทัคคีกลับมาที่อาศรมเห็นต้นไม้ถูกตัดออกไปจึงถามนางเรณุกา ซึ่งนางก็เล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังและบอกให้แก้แค้น แต่ฤาษีกลับไม่เอาเรื่องและพูดปลอบ นางเรณุกาจึงไปบอกกับปรศุรามให้แก้แค้นเมื่อปรศุรามได้ฟังก็โกรธแค้นมาก จึงนำขวานเพชนและธนูคู่มือติดตามไปจนเจอท้าวอรชุนและต่อว่า ท้าสู้กันตัวต่อตัว ท้าวอรชุนนั้นตอบตกลงโดยไม่กลัวเกรง ปรศุรามยิงศรไปศรหนึ่งแขนพันแขนของท้าวอรชุนก็เหลือสองแขน แล้วใช้ขวานเพชรซึ่งไม่มีอำนาจใดมาหักล้างได้เพราะพระศิวะประทานให้ตัวพระศอท้าวอรชุนขาดกระเด็นจนท้าวอรชุนสวรรคตปรศุรามได้กลับอาศรม และเล่าเรื่องให้ฤาษีชมทัคคีฟัง แต่ฤาษีชมทัคคีกลับรู้สึกไม่ดีและได้กล่าวสั่งสอนว่า เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร ไปก่อเวรแบบนี้น่ะไม่ดีเลย แต่ปรศุรามกลับตอบว่า ใครที่มาก่อเวรจะให้ลองรสขวาน ไม่กลัวหรอกเมื่อท้าวอรชุนสวรรคต บรรดาโอรสของท้าวอรชุนต่างโกรธแค้นเป็นอันมากและได้ยกทัพไปที่อาศรมของฤาษีชมทัคคี ซึ่งฤาษีชมทัคคีก็ได้ออกมาต้อนรับ อริชาโอรสคนโตของท้าวอรชุนจึงเอ่ยถามว่า ลูกของเจ้า นี่ชื่อรามฤทธิรุทรใช่หรือไม่ ฤาษีชมทัคคีจึงตอบว่า ใช่ อริชาจึงเอ่ยต่อว่า ลูกของเจ้าไปฆ่าพระบิดาของข้า เพราะฉะนั้นข้าก็จะฆ่าพ่อของรามฤทธิรุทรให้ตายเป็นการแก้แค้น เมื่อฤาษีชมทัคคีได้ฟังก็ได้ร้องขอชีวิตแต่หาได้เป็นผลไม่ อริชาได้สังหารฤาษีชมทัคคีและทิ้งศพไว้หน้าอาศรมนั้นเมื่อปรศุรามกลับมาที่อาศรมเห็นศพของฤาษีชมทัคคีก็ร้องไห้เสียใจแล้วตัดพ้อว่า ฤาษีผู้เป็นพ่อนี้ทำแต่ความดี ทำไมถึงมาเสียชีวิตเพราะคนพาลสันดานหยาบแบบนี้ และได้สาบานว่าจะฆ่าเผ่าพันธุ์กษัตริย์ทั้งหมดหลังจากนั้นปรศุรามก็สังหารวงศ์ของท้าวอรชุนจนสิ้นและสังหารกษัตริย์รวมไปถึงพระโอรสยกเว้นพระธิดา มเหสีของเมืองทุกเมืองจนสิ้น ครบอายุคือยี่สิบเอ็ดพรรษา ซึ่งหมายความว่าปรศุรามได้สังหารวงศ์กษัตริย์ไปถึงยี่สิบเอ็ดครั้ง เมื่อแก้แค้นสำเร็จปรศุรามจึงไปบำเพ็ญตบะไม่ยุ่งเกี่ยวกับทางโลกบรรดาธิดา มเหสี เห็นว่าไม่มีเมืองไหนที่มีกษัตริย์ครองเมือง ด้วยกลัวว่าจะสิ้นราชวงศ์วรรณะกษัตริย์ จึงไปขอร้องบรรดาพราหมณ์ให้ช่วยทำพิธีนิโยค เพื่อไม่ใช้วรรณะกษัตริย์สูญสิ้น บรรดาพราหมณ์เห็นว่าแผ่นดินควรมีทั้ง วรรณะกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูตร จึงได้ทำพิธีนิโยคขึ้น วรรณะพราหมณ์จึงเป็นผู้ให้กำเนิดวรรณะกษัตริย์ครั้งหนึ่งหลังจากที่ปรศุรามละจากทางโลกแล้ว ปรศุรามนั้นได้ไปเข้าเฝ้าพระศิวะ แต่พระพิฆเนศซึ่งเป็นพระโอรสของพระศิวะไม่ให้เข้าพบ ปรศุรามจึงโกรธขว้างขวานเพชรใส่พระพิฆเนศ พระพิฆเนศจึงใช้งาข้างหนึ่งรับ และเป็นเหตุให้เสียงาไป

บรมมหานารายณ์ทศอวตาร ตอน วามนาวตาร

ทศอวตารนารายณ์เทพ ตอน วามนาวตาร

อันจะกล่าวถึงท้าวพลีอสุราช เอารสท่านประหลาดกุมารศรี
หยาบช้าพาลหมายครอบครองจักรวาล บุกทำลายยึดครองทั้งไตรภพ
พระวิษณุเทพเสด็จอวตาร เป็นพราหมณ์เตี้ยพิกลพิการไน้เภทภัย
หลอกของแผ่นดินสามย่างก้าว ท้ามพลีหลงการสิ้นเดชานุภาพาล

       ปางอวตารที่ห้าของพระนารายณ์คือ วามนาวตาร ทรงอวตารมาเป็นพราหมณ์เตี้ยหรือคนแคระตัวเล็กบุตรของพระกัศปเทพบิดรและพระอทิติเทพมารดร เพื่อปราบท้าวพลีบุตรประหลาดกุมารที่ยกพลอสูรยึกครองสวรรค์ โลกมุนาญ์และบาดาลไว้สร้างความเดือดร้อนไปทั่ว ด้วยกุศโลบายที่เรียบง่ายและเป็นที่มาของวลีที่ว่า "ย่างสามขุม"
        ประหลาดกุมารปกครองอสูรด้วยธรรมะตามบัญชาแห่งพระนารายณ์หลังจากที่ประหลาดกุมารสิ้นชีพไปบุตรชายคือท้าวพลีได้ครองราชย์ปกครองอสูรอยู่ ปรากฏว่าท้าวพลีมิได้เลือดของพ่อมาแต่น้อยกลับได้ของปู้คือหิรัณกศิปุมาเต็มๆ และคำนึงถึงความยิ่งใหญ่แต่หนหลังของปู่จนจึงคิดทวงคืนแผ่นดินจากพระอินทร์อีกครั้ง จึงยกทัพอสูรเข้าต้องสู้ด้วยพลังกำลังและความเคียดแค้นที่เต็มอก พระอินทร์จึงสู้ไม่ได้ต้องยกพลอพยพเทวดาไปอยู่ยังเชิงเขาที่พำนักของพระกัศปมุนีและพระนางอทิติ และสวดมนต์ขอให้พระนารายณ์ช่วย พระนารายณ์จึงอวตารลงมาเกิดเป็นบุตรของพระกัศปมุนีและพระนางอทิติ โดยเกิดมามีรูปร่างพิกลพิการในสายตาคนทั่วไปคือเป็นคนแคระ พระกัศปมุนีให้ชื่อว่า วามน
        วามนรำเรียนศิลปศาสตร์ไตรเพทจนครบถ้วนแล้วจึงบวชเป็นพราหมณ์ ในเวลานั้นท้าวพลีซึ่งครอบครองสามโลกได้สำเร็จก็ทำพิธียัญบูชาใหญ่ถวายแด่หิรัญกศิปุและยกตนเป็นพระผู้เป็นเจ้า จึงได้มีการเชิญพราหมณ์จากทั่วทุกหัวระแหงมาร่วมพิธีด้วย รวมทั้งวามนพราหมณ์เตี้ย ในพิธีดังกล่าวกษัตริย์จะต้องถวายปัจจัยแก่พราหมาณ์ทีเชิญตามแต่พราหมณ์จะขอ ซึ่งเป็นการแสดงความยิ่งใหญ่ของกษัตริย์อย่างท้าวพลี พราหมณ์คนอื่นก็ขอเล็กๆน้อยๆเพราะเกรงกลัวโทสะของท้าวพลี พอมาถึงวามนพราหมณ์เตี้ย ท้าวพลีก็เกิดเอ็นดูในความน่ารักบนแปลกประหลาดจึงถวายพรแก่วามน ว่า
        "ท่านปรารถนาสิ่งใหญ่พราหมณ์ จงแจ้งแถลงไข"
        "ท้าวพลีผู้ยิ่งใหญ่ ตัวข้าเตี้ยแคระพิกลพิการมิปรารถนาสิ่งใดของเพื่อแผ่นดินสามย่างก้าวเป็นที่อยู่อาศัยไม่มีใครมารบกวนก็เพียงพอ" ท้าวพลีก้มดูขาวามนที่สั้นก็เกิดความคิดว่าแผ่นดินสามย่างก้าวจักเท่าใดกัน จึงประทานให้และยกคนโทนำและหลั่งทักษิโณทกใส่มือพราหมณ์ ตอนนั้นพระศุกร์ผู้เป็นอาจารย์ของเหล่าอสูรเห็นภาพวามนมีสี่กรถือสังข์กับจักรก็รู้ทันทีว่าเป็นพระนารายณ์อวตารมาและเห็นว่าท้าวพลีกำลังจะหลงกลจึงหายตัวไปอดุปากพวนคนโทไม่ให้นำออกมา ท้าวพลีทั้งเททั้งเขย่าก็ไม่ออก วามนก็รู้ด้วยญาณว่าเป็นฝีมือพระศุกร์จึงเอาหญ้าคาเเทงเข้าไปถูกตาพระศุกร์บอด พระศุกร์ทนไม่ไว้ต้องรีบหายตัวไปยังที่พำนักของตน พอท้าวพลีเทน้ำลงมือวามนเรียบร้อย ทันใดนั้นวามนก็สำแดงฤทธิ์กลายร่างเป็นพระนารายญ์ สี่กรตัวสูงใหญ่สุดขอบจักรวาลก้าวขาครั้งที่หนึ่งก็เอาสวรรค์ไว้ทั้งหมด ก้าวขาครั้งที่สองก็เอาโลกมนุษย์ไว้ทั้งหมด และกำลังก้าวขาครั้งที่สามเพื่อเอาบาดาลไว้ทั้งหมด ท้าวพลีเห็นเช่นนั้นก็ตกตะลึงและนึกถึงคำสอนขอบิดาว่าไม่มีผู้ใดในไตรภพจะสามารถต้านทานอำนาจของพระนารายณ์ได้ จึงคุกเข่ากราบของอภัยและสำนึกผิดในบาปที่ตนก่อน พระนารายณ์กลายร่างกลับมาเป็นวามนพรามหณ์แคระ และเอาเท้าเหยียบหัวเป็นการลงโทษและมีบัญชาให้ท้าวพลีไปปกครองบาดาลชั้นที่ลึกที่สุดสำนึกผิดอยู่ที่นั้นชั่วชีวิต ท้าวพลีก็ยอมทำตามและยึดถือพระนารายณ์เป็นสรณะตลอดไป สามโลกก็กลับคือสู่สันติสุขอีกครั้ง
            และนี้เป็นที่มาของวลีที่ว่า ย่างสามขุม เป็นท่าหนึ่งในกระบวนแม่ไม้มวยไทยและยังเป็นการใช้วามนแทนความอ่อนน้อมถ่อมตนและการไม่ดูถูกผู้ที่ต่อยต่ำกว่าจึงนับเป็นอวตารที่มีความหายลึกซึ้งมากภาคหนึ่ง

บรมมหานารายณ์ทศอวตาร ตอน นรสิงหาวตาร

ทศอวตารนารายณ์เทพ ตอน นรสิงหาวตาร
ปางกู่เจ้าวิษณุเทพนาถา  นรสิงหาวภาคศักดิศร
ปราบปีสาจผู้อนุชาผู้อาจองค์ ขอพรพรหมเทวาจตุการ
ทรงเสด็จสำแดงฤทธิเดช เป็นมนุษย์กึ่งสิงห์สีหราชา
แหวกต้นเสาออกสังหารพญามาร สิ้นเดชาพยศร้ายวายชนม์สิ้น

                ปางอวตารที่สี่นี้สืบเนื่องมาจากปางก่อนคือ วราหาวตาร เมื่อหิรัญยากษะสิ้นชีพไปแล้วก็เลยน้องชายคือหิรัญกศิปุ ซึ่งมีนิสัยพาลหยาบช้าไม่แพ้กัน ได้ขอพรพระพรหมแล้วอาละวดาไปทั่วสามโลกก่อความวุ่นวายครอบครองสวรรค์เป็นที่เดือดร้อนไปทั่วและยกตนเป็นพระผู้เป็นเจ้า จึงทรงแบ่งภาคอวตารลงมาเป็นอมนุษย์กึ่งเทพกึ่งมนุษย์กึ่งสิงห์ลงมาปราบหิรัญกศิปุถึงแก้ความตาย เรื่องราวมีดังต่อไปนี้
          หลังจากหิรัณยากษะพี่ชายตายไปหิรัญกศิปุ อสูรผู้น้องรู้สึกเคียดแค้นพระนารายณ์และเหล่าเทพเป็นกำลังคิดหาทางแก้แค้นแต่ตนมีกำลังไม่มากพอที่จะต่อกรกับเหล่าเทพอย่าว่าแต่เหล่าเทพเลยแค่พระอินทร์ก็สู้ไม่ได้แล้ว หิรัณกสิปุจึงได้ความคิดว่าหาตนขอพรจากพระพรหมก็จะสามารถทำสิ่งที่ตนคิดได้ ว่าแล้วจึงออกบวชยังป่าลึกก่อกู่บูชาไฟนั่งสมาธิสาธยายมนต์บูชาพระพรหมอยู่หลายสิบหลายร้อยปีจนเป็นที่พอใจของพระพรหมจึงเสด็จลงมาปรากฏกายต่อหน้าหิรัญกศิปุ และได้ให้หิรัญกศิปุขอพรได้ หิรัญกศิปุจึงขอพรให้ตนมีฤทธิ์เดชาอานุภาพเกรียงไกร ไม่ว่าจะเป็น มนุษย์ สัตว์ เทวดา อสูรไม่สามารถฆ่าตนได้ ไม่ว่าจะเป็นกลางวันกลางคืนก็ไม่สามารถสังหารตนได้ ไม่ว่าจะเป็นบนอากาศหรือบนพื้นดินก็ไม่สามารถฆ่าตนได้ ไม่ว่าจะเป็นอาวุธประเภทไหนก็ไม่สามารถฆ่าตนได้ ไม่ว่าจะเป็นในเรือนหรือนอกเรือนก็ไม่สามารถฆ่าตนได้ เรียกได้ว่าข้อพรกันไว้ทุกทางไม่ให้พระนารายณ์มาสังหารตนได้ พระพรหมนั้นมีจิตเมตตาสูงจึงประทานให้และสั่งสอนให้อยู่ในสุจริตธรรมแล้วก็หายตัวไป
          เหมือนพระพรหมไปแล้ว หิรัญกศิปุก็กำเริบเสิบสานเหาะยกพลพรรคขึ้นไปท้ารบกับพระอินทร์ถึงสรวงสวรรค์ พระอินทร์ก็ออกต่อกรด้วยไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ไม่สามารถฆ่าได้จึงหนีไปพึ่งพระนารายณ์ที่ไวกูณฐ์สวรรค์ซึ่งพระนารายณ์ก็รับคำเพราะเห็นว่าหิรัญกศิปุเป็นภัยต่อจักรวาล
         หิรัญกศิปุได้ครอบครองสวรรค์ก็กำเริบเสิบสานตั้งตนเป็นพระผู้เป็นเจ้าใครไม่เคารพตนก็ต้องตายสถานเดียวจากหมู่เสนามารทั้งหลาย หิรัญกศิปุมีบุตรอยู่คนหนึ่งชื่อ ประหลาดกุมาร ซึ่งเป็นผู้ที่มีความซื่อตรงต่อพระนารายณ์มาก ตั้งตั้งตนอยู่ในสุจริตธรรมจึงพยายามชักชวนให้บิดาของตนเลิกทำชั่วช้ากับมาอยู่ในธรรมที่ถูกต้อง หิรัญกศิปุนั้นโกรธประหลาดกุมารมากแต่ด้วยความรักดังแก้วตาดวงใจจึงไม่ทำอะไรแต่พอนานเข้าความอดทนก็สิ้นสุด ในเมื่อมันไม่เคารพพ่อก็ไม่ควรเป็นพ่อลูกกัน จึงสั่งให้เสนายักาทำอย่างไรก็ได้ให้ประหลาดกุมารมานับถือตน แต่ประหลาดกุมารก็ยังมั่นคงต่อพระนารายณ์ สั่งให้เอาประหลาดกุมารไปฆ่า ให้ช้างตกมันเหยียบช้างก็ไม่เหยียบก็ชูงวงสักการะประหลาดกุมารเพราะประหลาดกุมารไม่หวาดกลัวต่อความตายท่องมนต์ถึงพระนารายณ์อยู่ตลอด เอานำมันเดือดราดก็กลายเป็นดอกไม้หอม เอาเหล็กที่ว่าคมที่สุดในสามโลกฟันดาบก็หักออกเป็นสองท่อน ทำอย่างไรก็สามารถฆ่าประหลาดกุมารได้ หิรัญกศิปุจึงให้นำตัวประหลาดกุมารเข้ามาในท้องพระโรงซึ่งเวลานั้นเป็นช่วงเย็นใกล้เข้ากลางคืนเต็มทีและกล่าว่า มหาเทพวิษณุมีจริงหรือถ้ามีจริงก็ให้ปรากฏตัวออกมา ทันใดนั้นเสาหินที่กลางท้องพระโรงก็แตกออกปรากฏตัวประหลาดครึ่งคนครึ่งสิงห์ ตัวใหญ่มีกำลังมหาศาลตรงปรี่เข้ามาจับหิรัญกศิปุด้วยแรงมหาศาลลากไปไว้ที่ธรณีประตูและจับหิรัญกศิปุยกลอยบนอากาศและลงมาวางบนตักของตนแล้วกล่าวว่า
          "หิรัญกศิปุเวลานี้เป็นกลางวันหรือกลางคืน"
          "ตอนนี้เป็นเวลาโพล้เพล้กลางวันก็มิใช่กลางคืนก็มิใช่"
          "หิรัญกศิปุเวลานี้เจ้าอยู่บนอากาศหรือบนพื้นดิน"
          "ข้าไม่ได้อยู่บนอากาศ หรือบนดิน ข้าอยู่บนตักท่าน"
          "หิรัญกศิปุเวลานี้เจ้าอยู่ในเรือนหรือนกเรือน"
          "ข้าไม่ได้อยู่ทั้งในเรือนและนอกเรือนแต่อยู่ที่ธรณีประตู"
          "หิรัญกศิปุ ข้าเป็นเดียรัจฉาน มนุษย์ อสูร หรือเทวดา"
          "ท่านมิใช่เดียรัจฉาน มิใช่มนุษย์ มิใช่เทวดา ไม่ใช่อสูร" แล้วนรสิงห์ก็ยกมือซึ่งมีกรงเล็บว่า
          "หิรัญกศิปุนี้ใช่อาวุธหรือไม่"
          "ไม่ใช่แต่เป็นมือและเล็บของท่าน"
          "หิรัญกศิปุเวลานี้เจ้าพ้นจากพรของพระพรหมแล้ว จงยอมรับบาปของเจ้าเถอะ" นรสิงห์ก็ใช้กรงเล็กฉีกกระชากท้องหิรัญกศิปุ จนถึงทรงอกแล้วลากเอาไส้ออกมาหิรัญกศิปุเห็นร่างนรสิงห์เป็นพระนารายร์ศ้องทับกันก็ขาดใจตายทันที เสร็จแล้วนรสิงห์ก็แต่งตั้งประหลาดกุมารปกครองอสูรที่โลกบาดาลพร้อมสั่งสอนให้อยู่ในศีลธรรม แล้วก็กลับไปรวมกับพระนารายณ์ที่ไวกูณฐ์สวรรค์ คืนความสงบให้กลับมาสู่ไตรโลกอีกต่อไป

บรมมหานารายณ์ทศอวตาร ตอน วราหาวตาร

ทศอวตารนารายณ์เทพ ตอน วราหาวตาร

ปางเสด็จเสวยชาติพญาหมู  เพื่อปราบตรูหมู่มารมรรคาสัย
ฤทธิรงค์ม้วนแผ่นดินหนีบเอาไว้  ธแปลงกายเป็นหมุป่าขวิดถึงตาย
แล้วทรงงัดเอาโลกคืนกลับมา  สู่โลกสันติสุขนิรัติศัย
แต่เป็นเหตุต้องอวตารอีกหนไป ถึงสี่ปางชลาสัยนิรัตกร

      ปางอวตารปางที่สามของพระนารายณ์มหาเทพผู้พดุงสันติสุขของจักรวาลคือ วราหาวตารเป็นพญาหมูป่าเผือกมีเขี้ยวเป็นเพชร เพื่อปราบหิรัณยากษะ ผู้ม้วนโลกไว้ในรักแร้ ทั้งยังเห็นเหตุให้พระนารายณ์ต้องอวตารลงไปอีกสี่ครั้ง โดยเรื่องมีอยู่ว่า
      หลังจาการกวนน้ำอมฤตซึ่งใช้เวลานานมากทำให้ทรงเหนื่อยล้าเป็นอย่างมากพอเสร็จงานพระนารยณ์ก็เข้าบรรทมสิทธุ์ทันที เวลานั้นมีพรหมกุมารสี่ตนอันได้แก่ สนกะ สนันทนะ สนาตนะ สันตกุมารซึ่งเคยได้รับอนุญาตจากพระนารายณ์ให้เข้าเฝ้าเวลาไหนก็ได้นั่น ได้เดินทางมาเฝ้าพระนารายณ์เวลานั้นยามเฝ้าทวารชื่อชยะ วิชยะได้ห้ามปราบพรหมกุมารทั้งสี่ แม้พรหมกุมารทั้งสี่บอกว่าตนได้รับสิทธิพิเศษก็ไม่เชื่อ ทั้งยังกล่าววาจาถูกหมิ่นว่าเป็นเพียงเด็กน้อย พรหมกุมารทั้งสี่จึงโกรธว่ามาว่ากล่าวตนซึ่งเป็นพราหมณ์ ซึ่งตามคัมภีร์พระเวทเป็นบาปมหันต์ จึงสาปให้ทั้งสองลงไปเกิดเป็นมาร้ายในโลกสมกับบาปที่เจ้ากระทำถึง 3 ชาติ
       ในครั้งนั้นเกิดเสียงดังกัปนาทจนพระนารายณ์ตื่นบรรทมมาและเห็นเข้าจึงรีบกุลีกุจอต้อนรับพรหมกุมารทั้งสี่ทั้งยังขอโทษเป็นการใหญ่ ฝ่ายชยยะกับวิชยะก็รู้ว่าตนผิดไปแล้วจึงขอให้พระนารายณ์ช่วยเหลือ แต่พระนาราณย์ก็ช่วยอะไรไม่ได้เพราะคำสาปของพรามหณ์นั้นศักดิ์สิทธิ์แก้ไม่ได้ แต่พระนารายณ์ได้อนุเคราะห์ด้วยการจะทรงลงไปสังหารทั้งสองด้วยตัวเองโดยชาติแรกทั้งสองเกิดเป็นหิรัณยากษะและหิรัณยกศิปุสองพี่น้อง ตนจะไปเป็นหมูป่าและนรสิงห์ ชาติที่สองไปเกิดเป็นตระกูลพรหมยักษ์นามทศกัณฐ์และกุมภกรรณและตนจะเกิดเป็นพระรามไปปราบส่วนชาตอที่สามไปเกิดเป็นมนุษญ์ชื่อพญากงส์และศิสุปาลและทรงไปเกิดเป็นมุนษย์ชื่อกฤษณะเพื่อปราบทั้งสอง แล้วชยยะและวชยะก็ลงไปเกิดในโลกมนุษย์ที่แสนลำบากโดยไปเกิดเป็นหิรัณยากษะกับหิรัณกศิปุสองพี่น้องทั้งคู่เป็นยักษ์ที่มีกำลังมากจนพวกพราหมณ์ มนุษย์ต่างเกรงกลัวทั้งสิ้นนานวันเข้าทั้งสองก็ผยองคิดว่าตนแน่
          หิรัณยากษะกำเริบเสิบสานคิดว่าตนมีกำลังเนิดกว่าผู้ใดคิดจะครอบครองโลกแต่เพียงผู้เดียวจึงใช้อิทธิฤทธิ์ของตนในการม้วนแผ่นดินทั้งโลกไว้ใต้รักแร้และลงไปอยู่ในโลกบาดาล ยังผลให้เดือดร้อนไปทั่ว ร้อนถึงพระนารายณ์ที่ต้องลงมาสะสางปัญหาด้วยการอวตารแบ่งภาคลงมาเป็นพญาหมูป่าตัวเผือกขาวดังสำลีมีเขี้ยวโง้วยาวเป็นเพชร ลงไปสังหารหิรัณยากษะทั้งสองต่อสู้กันอย่างรุนแรงหิรัณยากษะมัวแต่ห่วงแผ่นดินใต้รักแร้จึงพลาดท่าถูกหมูป่ายักษ์ขวิดถึงแก่ความตายตาย เสร็จแล้วพญาหมูป่าก็ใช้จมูกทูนแผ่นดินขึ้นมาด้านบนและใช้เขี้ยวคลี่แผ่นดินออกให้โลกกลับสู่สันติสุขอีกครั้ง แล้วตนก็กลับไปรวมภาคกับพระนารายณ์ตามเดิม


ภาพวราหาวตาร ที่ระเบียงแก้วรอบพระอุโบสถ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดแก้วมรกต) กรุงเทพมหานคร



บรมมหานารายณ์ทศอวตาร ตอน กูรมาวตาร

ทศอวตารนารายณ์เทพ ตอน กูรมาวตาร

ปางทวิราชอวตารมหาเทพ   ทรงเสด็จแปลงเป็นเต่าเจ้าชลสิทธิ์
                             แบกรองรับกันโลกรั่วด้วยพิธี    กวนเกษียรณธาราอมฤต
                                เพลานั้นปรากฎอสุรามัจฉา    มากวนก่อทำลายบั่นเสาหิน
                            ทรงฤทธานุภาพชัยนรรินทร์      ชำระสิ้นซึ่งอาธรรม์มรรคาลัย

         ปางอวตารลำดับที่สองของพระนารายณ์คือกูรมาวตาร โดยทรงอวตารมาเป็นเต่าเรื่องมีอยู่ว่า ฤษีทุรวาส(หนึ่งในปางอวตารของพระศิวะ) เดินทางท่องเที่ยวไปทั่วสามภพได้เดินทางมาบนสวรรค์ เวลานั้นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณผ่านมาพอดี ฤาทุรวาสเห็นเทวธิบดีจึงถอดพวงมาลัยดอกไว้จากคอมาถวายแก่พระอินทร์แต่พอถวายไปช้างเอราวัณซึ่งพอได้กลิ่นดอกไม้ก็เกิดตกมันอาละวาดคว้าเอาพวงมาลัยมากระทืบจนแหลก ฤษีทุรวาสโกรธว่าพระอินทร์ไม่ให้เกียรติตนจึงสาปพระอินทร์และหมู่เทวดาว่า"หากรบทัพจับศึกคราก็ให้พ่ายแพ้ทุกครั้ง" แล้วฤาษีทุรวาสก็เหาะกลับไปอาศรมของตน พวกเทวดาพอถูกสาปต่างรู้ถึงฤทธานุภาพของพระฤาษีต่างก็เกรงกลัวภัยยิ่งเพราะทุกครั้งเวลาตนรบกับพวกอสูรยักษ์แทตย์ก็ชนะมาตลอด พระอินทร์จึงมีบัญชาให้เก็บไว้เป็นความลับ แต่เรื่องนี้ก็ได้รั่วไหลไปสู่หูของพวกอสูรจนได้จึงยกพลขึ้นมารบกับเทวาดผลคือเทวาดาแพ้ พระอินทร์และพวกต้องหนีไปพึ่งพระนารายณ์ที่เกษียรสมุทรไวกูณฐ์โลก บ้างก็หนีไปบ้างก็ถูกจับเป็นเชลยบ้างก็ถูกฆ่าตาย ด้วยความเมตตาพระนารายณ์จึงออกอุบายแก้คำสาปของฤาษีทุรวาสว่า ควรทำพิธีกวนนำอมฤตเพื่อเพิ่มพลังให้แก่เทวดา ยังทำให้พวกเทวดาเป็นอมตะไม่มีวันตายอีกด้วย แต่ต้องให้เทวดาแก้งอ่อนน้อมต่ออสูรโดยรับว่าต่ำต้อยกว่า เพราะการกวนนำอมฤตเป็นงานใหญ่ต้องใช้การ่วมมือของทั้งสองฝ่าย และพระอินทร์ก็ออกอุบายพักรบมากวนนำอมฤตโดยร่วมกันหาสมุนไพรและจะแบ่งให้กินพวกอสูรก็หลงกลทำตาม พอได้เวลาพระพรหม พระศิวะ พระนารายณ์ก็เสด็จมาเป็นประธานในพิธีเหล่าเทวดาและอสูรต่างก็เอาสมนไพรมาเทลงในเกษียรสมุทร(ทะเลน้ำนม) ที่ประทับของพระนารายณ์ และก็ถอดเอาเขามันทรามาปักไว้กลางเกษียรสมุทรเป็นไม้กวนและให้พญานาควาสุกรีเป็นเชือกพันรอบเขามันทราแล้วออกอุบายว่า ให้เทวดาฉุดด้านหางและอสูรฉุดด้านหัวเพราะด้านหัวพญานาคต้องใช้กำลังมากจึงต้องอาศัยคนที่มีฤทธิ์เดชเยอะ เวลานั้นพวกอสูรก็ทะนงตัวว่ามีอานุภาพเกรงไกรฝ่ายเทวดาเองก็ทำตามอุบายของพระนารายณ์ที่โอนอ่อนตามพวกอสูรจึงหลงกลพากันไปฉุดทางหัวซึ่งลำบากกว่าเพราะการกวนใช้เวลานานมากพญานาคต้องเหนื่อยและล้าเพราะถูกฉุดอยู่ตลอดเวลาเมื่อทนไม่ไว้ก็จะคายพิษออกมาที่หนึ่งไปถูกอสูรตายไปเป็นำนวนมากแล้วส่วนใหญ่ก็อ่อนแรงลง เวลานั้นเองเขามัทราที่เป็นไม้กวนถูกใช้กดลงไปแรงเกินไปซึ่งอาจทำให้พื้นทะลุลงไปยังโลกมนุษย์พระนารายณ์จึงแบ่งภาคอวตารมาเป็นเต่า ใช้กระดองของตนรองรับแรงเสียดสีของเขามัทรามิให้พื้นทะลุและทำให้โลกแตกได้ เมื่อการกวนผ่านไปนานเข้าพิษพญานาคก็คายออกมามากขึ้นก็เกิดกริ่งเกรงว่าพิษที่ลงไปยังทะเลจะไล่ลงไปยังโลกและจะสังหารทุกอย่างพระศิวะจึงนำสังข์ของตนมารองรับพิษนาคและดื่มกินไว้เองเพื่อป้องกันอันตรายนี้เป็นเหตุให้พระศิวะมีคอสีดำและสีดำกลายเป็นสีของความรักอันบริสุทธิ์ของชาวฮินดู
          ในระหว่างการกวนนำอมฤตมีอสูรปลาตนนี้คิดไม่ดีหวังจะทำลายโลกจึงมาคอยตอดทำลายเขาให้พังลงมา พระนารายณ์ในร่างเต่าจึงเข้าสังหารอสูรปลาทันทีมิให้มาขวางการกวนน้ำอมฤต ในระหว่างการกวนน้ำอมฤตซึ่งใช้เวลานานมากได้เกิดของวิเศษ 14 อย่างผุดขึ้นมาคือ
  1. ดวงจันทร์ พระศิวะนำมาปักไว้บนเกศ
  2. เพชรเกาสุภตะ
  3. ดอกบัวลอยขึ้นมาบานเป็นพระลักษมี นางเลือกพระนารายณ์เป็นชายา
  4. วารุณี เทพีแห่งสุรา เป็นชายาของพระพิรุณ
  5. ช้างเผือก
  6. ม้าอุจฉัยศรพ ม้าทรงราชรถของพระอินทร์
  7. ต้นปาริชาติ ถูกปลูกไว้บนสวรรค์
  8. โคอุสุภราช พร้อมของหอมเป็นบริวารของพระศิวะ
  9. หริธนู
  10. สังจ์
  11. ปวงเทพีอัปสรสวรรค์
  12. พิษร้าย พวกนาคและงูสูบเอาไว้
  13. ธันวันตริ แพทย์สวรรค์ทูนเอาของชิ้นที่ 14ขึ้นมาคือ
  14. หม้อมน้ำทิพย์อมฤต
 พอหม้อมน้ำอมฤตทูนออกมาพวกอสูรและเทวดาก็แย่งกันแต่เทวดาสู้ไม่ได้ พระนารายณ์จึงแปลงกายเป็นนางอัปสรชื่อโรหิณีไปล่อลวงอสูรให้หลงงงงวยในความงามของนาง พระอินทร์ได้โอกาศก็แอบขโมยนำอมฤตกลับมาแบ่งในหมู่เทวดามีเพียง ราหู ที่ไม่หลงกลแปลงกายเป็นเทวดามาดื่มด้วยพระอาทิตย์กับพระจันทร์รู้เข้าจึงไปฟ้องพระนารายณ์ พระนารายณ์จึงขว้างจัรกสุทรรศน์ไปตัดราหูออกเป็นสองท่อน แต่ราหูไม่ตายเพราะดื่มน้ำอมฤตแล้ว ราหูจึงโกรธแค้นพระอาทิตย์และพระจันทร์มาและจะจับกินทุกครั้งที่เจอกันเป็นปรากฏการณ์สุรยคราสและจันทรคราส ฝ่ายอสูรกว่าจะรู้ตัวว่าโดนหลอกเทวดาก็ดื่มน้ำหมดแล้วจะยกพลขับไล่พวกอสูรออกไป พระนารายณ์ได้มอบหม้อนำกับพระอินทร์เก็ยรักษาเป็นของห้วงห้ามของสวรรค์ ฝ่ายพวกนาคพวกงูที่หวังจะมีส่วนรวมบ้างก็พลอดอดไปด้วยแต่ก็มาเลียนกินหญ้าคาซึ่งรองรับหม้อน้ำซึ่งพอมีน้ำหลงเหลืออยู่บ้าง หญ้าคาบาดลิ้นทำให้ลิ้นแตกเป็นสองแฉกนับแต่นั้นมา และนี้คืออวตารปางที่สองกูรมาวตาร

บรมมหานารายณ์ทศอวตาร ตอน มัตสยาวตาร


ทศอวตารนารายณ์เทพ ตอน มัตสยาวตาร


            ปางจะกล่าวถึงปฐมอวตารภาค         องค์สมเด็จพระนารายณ์เจ้านาถา
                    ทรงเสด็จปราบยุคเข็ญในโลกหล้า                 ปราบหมู่มารผจณปัจจามิตร
                                 ครั้นพรหมนิทราราตรีทิพย์                 หัสยครีพอสุราผู้ทรงมหิทธิศร
                    ขโมยพระเวทเล่งคาถายุภากร                        ให้สาครท่วมมั่วทั้งโลกา
                                 พระวิษณุผู้ประสานเมตตาธรรม         วรนำอำภาสุชาศัย
                     อวตารมาเป็นปลาตะเพียทองอำไพ               ช่วยโลกหล้าเข้าไว้รอดมหาภัย

ปางอวตารปางแรกในกระบวนสิบปางของพระนารายณ์ เทพผู้ทรงอำนาจหนึ่งในสามมหาเทพก็คือมัตสยาวตาร ทรงอวตารมาเป็นปลาตะเพียนทองมีนามว่า สะผะริ โดยมีเนื้อหาใจความว่า
          เมื่อพระพรหมทรงสร้างสากลจักรวาลเสร็จสิ้นซึ่งใช้เวลาการสร้างยาวนานมากแล้วจนไม่ได้หลับไม่ได้นอน พอสร้างเสร็จแล้วก็ทรงเข้าสู่นิทราเรียกว่า "พรหมราตรี" เป็นช่วงเวลาที่พระพรหมหลับซึ่งใช้เวลายาวนานมาจะตื่นอีกครั้งก็ตอนโลกาวินาศและสร้างโลกใหม่อีกครั้ง ระหว่างที่หลับอยู่นั้นเองก็มีอสูรตนหนึ่งชื่อว่าหัยครีพหรือสังขอสูร อสูรหอยสังข์ผู้มีใจหายช้าปรารถนาที่จะครอบครองพระเวทไว้ เพราะคัมภีร์พระเวทในความเชื่อของฮินดูเป็รแหล่งของพลังอำนาจทั้งหลายและพระพรหมเป็นผู้เก็บรักษาไว้จึงว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจสูงสุดนั้นเอง ระหว่างที่พระพรหมหลับน้ำลายก็ไหลออกมาจากปากตอนนั้นเองพระเวทซึ่งเก็บรักษาไว้ในปากก็ไหลออกมาด้วย หัยครีพเห็นก็ไม่รอช้ารีบเข้าไปคว้าเอาพระเวทมาครอบครอง ซึ่งสรางความปั่นปวนในจักรวาลเป็นอย่างมาก หัยครีพคิดจะลองฤทธิ์ของพระเวลทเลยเปิดอ่านดูและพบว่าโลกเวลานี้เต็มไปด้วยคนชั่วใกล้ถึงเวลาแตกดับด้วยการถูกน้ำท่วมโลก หัยครีพเห็นก็ดีใจว่าตนจะรอดตายเพราะตนเป็นสัตว์น้ำ เลยคิดจะลองให้พระเวทในการเร่งให้น้ำท่วมโลกเร็วขึ้น การณ์อันวุ่นวายปรากฎไปทั่วพระนารายณ์ทรงเล็งเห็นจึงทรงอวตารแบ่งภาคลงมาเป็นปลาตะเพียนทองชื่อสะพะริน
          ในโลกมนุษย์เวลานั้นเต็มไปด้วยความชั่วคนดีเหลือน้อยมารวมทั้งท้าวสัตยวา กษัตริย์เมืองพาราณสีซึ่งเป็นกษัตริย์ที่มีเมตตาธรรมยิ่ง วันหนึ่งท้าวสัตยวาได้เดินไปประพาสป่าพบได้ยินสิ่งเสียงร้องเรียกตนเลยหันไปมองเห็นปลาตะเพียนทองอยู่ในแอ่งน้ำที่เกิดจากรอยเท้าสัตว์ใกล้แห้งขอดเต็มที ปลาตะเพียนทองตัวน้อบร้องขึ้นมาว่า "ข้าแต่พระราชาผู้ประเสร็จโปรดช่วยข้าให้พ้นจากมรณภัยเป็นกุศลสักคราเถิด" ทาวสัตยวาตอบกลับไปว่า "เจ้ามาแต่ที่ใดเหตุฉะไหนถึงมาติดอยู่ที่นี้" ปลาน้อยตอบว่า "ข้าชื่อสะพะรินถูกพายุเมื่อคืนก่อนพัดมาตกอยู่นี้ได้โปรดช่วยข้าด้วยเถิอ เพราะไม่มีใครคิดช่วยข้าเลย ข้ามิอยากสิ้นชีพที่นี้" ท้าวสัตยวาผู้มีเมตตาจึงลงไปเอามือวักเอาปลามาใส่ถ้วยนำของตนและนำไปเลี้ยงที่อ่างดินหน้าพระตำหนัก เวลาผ่านไปไม่กี่วันปลาตะเพียนสะพะรินตัวโตขึ้นอย่างรวดเร็วจนคับอ่างเป็นที่ตกใจของข้าราชบริพารเป็นอันมาก ท้าวสัตยวาเห็นก็สงสารปลานตะเพียนทองจึงทำตามที่ปลาสะพะรินขอด้วยการย้ายไปอยู่ที่สระบ้วใกล้พระตำหนัก แต่เพียงไม่กี่วันปลาตะเพียนก็ตัวโตขึ้นจนคับสระ ท้าวสัตยวาก็บัญชาให้ย้ายไปไว้ในบึงในพระอุทยาน แต่ปลาตะเพียนก็ตัวโตขึ้นอีกจนต้องย้ายไปไว้ในห้วง คลอง แม่น้ำจนออกมหาสมุทรตามลำดับ ท้าวสัตยวานั้นสังเกตความแปลกประหลาดของปลาตัวนี้มานานแล้วเห็นแปลกใจจนในที่สุดเมื่อท้าวสัตยวาไปเยี่ยมปลาสะพะรินที่ปากมหาสมุทรก็เลยถามว่า
           "สะพะรินเอย เราสังเกตพฤติการณ์เจ้ามาหลายเพลาแล้วเห็นผิดประหลาดจากมัจฉาทั่วไป จงบอกความจริงมาว่าเจ้าเป็นผู้ใดกันแน่จะเป็นเทวดาหรือปีศาจอสูรหรือสิ่งไรจงแถลงมา" ปลาตะเพียนทองกล่าวขึ้นว่า "ท้าวสัตยวาผู้เมตตาเรานั้นหาใช่อสูรร้ายหรือปีศาจผีสางที่ได้" ทันใดนั้นก็ทรงแสดงฤทธิเป็นรูปพระนาราย์สี่กรถือคทาจักรตรีสังข์ท่อนบนและท่อนล่างเป็นปลาให้ท้าวสัตยวาและข้าราชบริพารเห็นต่างตกใจตะลึงและปลาตะเพียนก็เล่าความจริงให้ฟังเกี่ยวการอวตารมาครั้งนี้เพื่อที่จะช่วยคนดีให้พ้นภัยของหัยครีพอสูรและปราบอสูรผู้นี้เอาพระเวทกลับไปคืนพระพรหม พร้อมกล่าวว่าที่ตนทำเช่นนี้ก็เพราะต้องการทดสอบเมตตาและขันติของท้าวสัตยวาว่าควรข้าที่พระองค์ผู้เป็นมหาเทพจะช่วยเหลือหรือไม่และท้าวสัตยวาก็สอบผ่านจึงมีพระบัญชาให้ท้าวสัตยวาสร้างเรือลำใหญ่เอาสัตว์ชนิดต่างๆอย่างละคู่ตัวผู้ตัวตัวเมียตัว พันธ์ไม้นานาชนิดอย่างละสอง พร้อมพระองค์ มเหสีพระราชวงศ์ ข้าราชบริพารที่มุคณความดีซึ่งสะพะรินเลยแล้ว รวมทั้งฤาษีทั้งเจ็ดกับชาวบ้านที่มีคุณธรรมอีกสิบครอบครัวขึ้นไว้บนเรือ เมื่อมหันตภัยล้างโลกมาถึงจะได้ปลอดภัยและเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์อีกครั้งในอนาคต ท้าวสัตยวารับบัญชาพระนารายณ์อวตารแล้วก็ทรงไปสั่งการณ์ตามนั้น
            หัยครีพอสูรนั้นได้อ่านพระเวลทจบบทก็เกิดระลอกน้ำขนาดใหญ่ฝนตกห่าใหญ่เจ็ดวันเจ็ดคืนจนนำท่วมทั่วทุกแห่งหน ผู้คนตายไปเหลือครานับ พวกของท้าวสัตยวาที่ทำตามบัญชาพระนารายณ์ก็อยู่ในเรือเพราะนำท่วมสูงขึ้น ลมพายุต่างโหมกระหน่ำดุจเรือจะแตกออกสะพะรินก็ปรากฏตัวขึ้นมาพร้อมพญานาค ปลาสะพะรินได้ให้พญานาคคดรอบลำเรือและม้วนตัวที่หน้าเรือเป็นเชือกให้สะพะรินว่ายพาเรือออกไปล่องตามลำนำจนพ้นอันตรายแล้วพญานาคก็คลายตัวออกไป สะพะรินก็ได้สั่งในท้าวสัตยาวาล่องเรือไปตามทางตะวันออกเรื่อยๆส่วนตนก็ดำลงไปในน้ำพบหับหัยครีพอสูรก็ได้ต่อสู้กัน หัยครีพอสูรเห็นตนไม่มีทางสู้เพราะปลาตัวนี้คือพระนารายณ์อวตารจึงกล่าวปรารถนาแห่งตนว่า "ตนปรารถนาจะอยู่ค่คัมภีร์พระเวทตอลดไป" ปลาตะเพียนกลายร่างเป็นพระนารายณ์ดังที่ปรากฏต่อหน้าท้าวสัตยวาแล้วแหวกอกหัยครีพออกล้วงเอาพระเวทคืนมาได้สำเร็จและหัยครีพอสูรก็ถึงแก่ความตาย สะพะรินก็กลับไปรวมกับพระนารายณ์นำพระเวทไปคืนพระพรหมให้สร้างโลกอีกครั้ง
           นับแต่นั้นมาหอยสังข์ที่เป็นลูกหลานของหัยครีพจึงต้องมีรอยเหมือนมือคนแหวกอยู่และพราหมณ์ก็ใช้หอยสังข์ในการเป่ารวมกับการอ่านคัมภีร์พระเวทตามปรารถนาของหัยครีพอสูร รวมทั้งตำนานนี้ยังเกี่ยวข้องกับตำนานน้ำท่วมโลกซึ่งก็คล้ายกับตำนานเรือโนอาห์ของคริสต์ศาสนา โดยเชื่อว่าโนอาห์คือภาคเลียนแบบของมัตสยาวตารไปเพราะศาสนาฮินดูเกิดก่อนกำเนิดของศาสนาคริสต์และได้มีการพบปะกันในชั่วจักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจจึงเป็นไปได้ว่ามีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมตรงนี้นั้นเอง

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ลิลิตตะเลงพ่าย (2)

ตอนที่ ๗ พระมหาอุปราชทรงปรึกษาการศึกแล้วยกทัพเข้าปะทะทัพหน้าของไทย
ร่าย ๙๗/๒๒๘ ฝ่ายกองตระเวนรามัญ อันขุนศึกธใช้ ให้เอาม้ามาลาด คอยข่าวราชริปู ดูทัพชาวพระนคร จักออกรอนออกรบ จักออกทบออกทาน เอากาการมาบอก แม้บออกต่อติด จักประชิดเมืองถึง จึงสมิงอะคร้านขุนกอง รองสมิงเป่อปลัดทัพ กับสมิงซายม่วน ทั้งสามด่วนเดินพล พวกพหลหมู่ม้า ห้าร้อยมามองความ ยลสยามยาตราทัพ อยู่ท่ารับรายค่าย ขอบหนองสหร่ายเรียบพยูห์ ดูกองหน้ากองหลวง แลทั้งปวงทราบเสร็จ เร็วระเห็จไปทูล แด่นเรศรอุปราช ครั้นพระบาทได้สดับ ธ ก็ทราบสรรพโดยควร ว่านเรศวรกษัตรา กับเอกาทศรุถ ยกมาแย่งรงค์ แล้วพระองค์ตรัสถาม สามสมิงนายกอง ถ้าจักประมาณพลไกร สักเท่าใดดูตระหนัก ตรัสซ้ำซักเขาสนอง ว่าพลผองทั้งเสร็จ ประมาณสิบเจ็ดสิบแปดหมื่น ดูดาษดื่นท่งกว้าง ครั้นเจ้าช้างทรงสดับ ธก็ตรัสแก่ขุนทัพขุนกอง ว่าซึ่งสองกษัตริย์กล้า ออกมาถ้ารอรับ เป็นพยุหทัพใหญ่ยง คงเขาน้อยกว่าเรา มากกว่าเขาหลายส่วน จำเราด่วนจู่โจม โหมหักเอาแต่แรก ตีให้แยกย่นย่อย ค่อยเบาแรงเบามือ เร็วเร่งฮือเข้าห้อม ล้อมกรุงเทพทวารัติ ชิงเอาฉัตรตัดเข็ญ เห็นได้เวียงโดยสะดวก แล้วธสั่งพวกขุนพล เทียบพหลทุกทัพ สรรพแต่ยามเสร็จ ตีสิบเอ็ดนาฬิกา จักยาตราทัพขันธ์ กันเอารุ่งไว้หน้า เร็วเร่งจัดอย่าช้า พรุ่งนี้เช้าเราตี เทอญนา

๙๘/๒๖๘ โคลง๔ ๏ เสนีรับถ้อยท่าน ทุกตน
ต่างเร่งตรวจเตรียมพล ทุกผู้
พลหาญหื่นหนรณ เริงร่าน อยู่แฮ
คอยจักขับเคี่ยวสู้ เข่นเสี้ยนศึกสยาม

๙๙/๒๓๐ ๏ ครั้นยามสิบเอ็ดแล้ว เวลา ลุเอย
องค์อัครอุปราชา หน่อไท้
โสรจสรงรสธารา รวยรื่น ฉมนา
เฉลิมวิเลปน์ลูบไล้ เฟื่องฟุ้งเสาวคนธ์ ฯลฯ

๑๐๐/๒๓๘ ๏ ภูเบนทร์บ่ายบาทขึ้น เกยหอ
ขี่คชชื่อพัทธกอ กาจกล้า
บ่เข็ดบ่ขามขอ เขาเงือด เงื้อแฮ
มันตกติดหลังหน้า เสือกเสื้องส่ายเสย ฯลฯ

ร่าย ๑๐๑/๒๖๗ ส่วนพระยาศรีไสยณรงค์ สองขุนคงควบทัพ กับพระราชฤทธานนท์ ทราบอนุสนธิสั่งไท้ ธให้ยาตรยกโยธี ออกโจมตีตัดศึก แต่ยามดึกเดินพล เร่งขวายขวนเตรียมทัพ สรรพห้าหมื่นโดยมี ตนพระยาศรีขี่คช ปรากฏชื่อมาตงค์ พลายสุรงคเดชะ เมืองสิงหะปีกขวา ออกญาสรรค์ปีกซ้าย เห็จคชผ้ายทุกมูล ขุนผู้คู่กำกับ เป็นทัพหลั่งพรั่งพฤนท์ ขี่คชินทรพาหะ นามชนะจำบัง รังปีกป้องกองขวา พระยาวิเศษชัยชาญ ขุนหาญปีกอุดร เจ้านครชัยนาท กองหน้าอาจโจมประจัญ ให้พระยาสุพรรณผ้ายพยู่ห์ ผู้ปีกซ้ายเมืองธน ทัพเมืองนนท์ปีกขวา ตรีเสนาเก้ากอง ลำลองเหล่าอาสา ส่ำศาสตราครบมือ ถือกระลับกระลอก หอกดาบปืนและสาร แสนยาหาญแน่นขนัด รัดเร่งเท้าเร่งเทา โดยลำเนาลำดับ ถับถึงโคกเผาเข้า พอยามเช้ายังสาย หมายประมาณโมงครบ ประทบทัพรามัญ ประทันทัพพม่า ขับทวยกล้าเข้าแทง ขับทวยแขงเข้าฟัน สองฝ่ายยันยืนยุทธ์ อุดอึงโห่เอาฤกษ์ เอิกอึงโห่เอาชัย สาดปืนไฟยะแย้ง แผลงปืนพิษยะยุ่ง พุ่งหอกใหญ่คะคว้าง ขว้างหอกชักคะไขว่ ไล่คะคลุกบุกบัน เงื้อดาบฟันฉะฉาด ง่าง้าวฟาดฉะฉับ ขับปีกซ้ายเข้าดา ขับปีกขวาเข้าแดก แยกกันออกโรมรัน ปักกันออกโรมรณ ทนสู้ศึกบ่มิลด อดสู้ศึกบ่มิลาด อาจต่ออาจเข้ารุก อุกต่ออุกเข้าร่า กล้าต่อกล้าชิงบั่น กลั่นต่อกลั่นชิงรอน ศรต่อศรยิงยืน ปืนต่อปืนยิงยัน กุทัณฑ์ต่างตอบโต้ โล่ต่อโล่ต่อตั้ง ดั้งต่อดั้งต่อติด เขนประชิดเขนสู้ ต่าวคู่คู่ต่าวต่อ หอกหันร่อหอกรับ ง้าวง่าจับง้าวประจัญ ทวนผัดผันทวนทบ รบอลวนอลเวง ต่างบเกรงบกลัว ตัวต่อตัวชิงมล้าง ช้างต่อช้างชิงชน คนต่อคนต่อรบ ของ้าวทบทะกัน ต่างฟันต่างป้องปัด วางเสนัดหลังสาร ขานเสียงศึกกึกก้อง ว่องต่อว่องชิงชัย ไวต่อไวชิงชนะ ม้าไทยพะม้ามอญ ต่างเข้ารอนเข้าโหม ทวนแทงโถมทวนทบ หอกเข้ารบรอหอก หลอกล่อไขว่แคล้ว แย้งธนูเหนี่ยวน้าว ห้าวต่อห้าวหักหาญ ชาญต่อชาญหักเชี่ยว เรี่ยวต่อเรี่ยวหักแรง แขนต่อแขนหักฤทธิ์ ต่างประชิดฟอนฟัน ต่างประชันฟอนฟาด ล้วนสามารถมือทัด ล้วนสมรรถมือทาน ผลาญกันกันลงเต็มหล้า ผร้ากันลงเต็มแหล่ง แบ่งกันตายลงครัน ปันกันตายลงมาก ตากเต็มท่งเต็มเถื่อน ตากเต็มเผื่อนเต็มพง ที่ยังคงบมิยู่ ที่ยังอยู่บมิหย่อน ต่างต่อกรฮึดฮือ ต่างต่อมือฮึกฮัก หนักหนุนแน่นมาหนา ดาหนุนแน่นมาดาษ บ่รู้ขยาดย่อทัพ บ่รู้ขยับย่อศึก คะศึกเข้าต่อแกล้ว คะแคล้วเข้าต่อกล้า ต่างชิงฆ่าชิงหั่น ต่างชิงบั่นชิงฟัน ปันกันยิงกันแผลง ปันกันแทงกันพุ่ง ยอยุทธ์ยุ่งบ่มิแตก แยกยุทธ์แย้งบ่มิพัง ทวยหน้าหลังต้อนผ้าย ทวยขวาซ้ายต้อนพล เข้าผจญจู่โจม โหมหักหาญราญรบ ต่างท่าวทบระนับ ต่างท่าวทับระนาด บ้างตนขาดหัวหวิ้น บ้างขาดิ้นแขกเด็ด บอยากกระหนาบหน้าหลัง ไทยประนังน้อยแง่ แผออกรลบมิรอด ถอดถอยท้อรอรับ มอญขยับยกตาม หลากเหลือล้นพลเต้า เสียงปืนตึงตื่นเร้า เร่งครื้นเครงครึก อยู่นา

๑๐๒/๒๖๘ โคลง๒ ๏ พันลึกล่มลั่นฟ้า เฉกอสุนีผ่าหล้า
แหล่งเพี้ยงพก แลนา

๑๐๓/๒๖๙ ๏ ดังตรลบโลกแล้ ฤๅบ่ร้างรู้แพ้
ชนะผู้ใดดาล ฉงนนา

๑๐๔/๒๗๐ ๏ สองฝ่ายหาญใช่ช้า คือสีหสู้สีหกล้า
ต่อแกล้วในกลาง สมรนา

ตอนที่ ๘ พระนเรศวรทรงปรึกษายุทธวิธีเอาชนะศึก
๑๐๕/๒๗๑ โคลง๔
ปางอุภัยภูเบศเบื้อง บูรพ์ถวัลย ราชย์แฮ
เรียบพิริยพลพรรค์ พรั่งพร้อม
เจียนจวบรวิวรรณ ร่างเรื่อ แลฤๅ
ทวยทิชากรน้อม นอบนิ้วเสนอทูล
ฯลฯ


๑๐๖/๒๗๒
เชิญไท้ยูรยาตรเต้า เตียงสนาน
ถวายมุทธาภิสิตธาร เพรียกพร้อง
ศิวเวทวิษณุบรรสาน สังข์โสรจ สรงแฮ
มหรทึกครึกเครงก้อง เกริกหล้าหวั่นไหว
ฯลฯ


ร่าย ๑๐๗/๒๗๗ ฝ่ายชีพ่อทวิชาชาติ ราชปุริโสดม พรหมพิทยาจารย์ เบิกโขลนทวารโดยกระทรวง ปวงละว้าเช่นไก่ ไขว่สรวงพลีผีสาง พลางธส่งแสงอาชญา แต่หลวงมหาวิชัย ใจทระนงองอาจ ยาตรตัดไม้ข่มนาม ตามตำรับไสยเพท บัดนฤเบศทรงสดับ เสียงปืนทัพแย้งยุทธ์ สุดอำเภอเลอไสต โปรดโองการธใช้ ให้หมื่นทิพเสนา เห็จอาชาเร็วรีบ ถีบไปสืบเอาการ เขารับสารขึ้นม้า ควบบช้าบหึง ถึงที่ทวยพลทัพ รับพลางถอยพลางล่ามอญพม่าตามติด ประชิดไล่อลวน ผจญรับอลหม่าน ผ่านท้องท่งท้องนา ดามาโดยแดนผลู ดูคะคลาคะคล่ำ บ่รู้กี่ส่ำสับสน เขาเอาตนหมื่นหนึ่งมา ซึ่งเนาในกองทัพ กลับม้านำมาเฝ้า จึ่งพระพุทธเจ้าอยู่หัว ตรัสถามตัวหมื่นพล เยียใดกลจึ่งพ่าย เขาจำหน่ายเหตุสนอง ว่าเผือผองผาดผ้าย ท้ายดอนเผาธัญญา พอนาฬิกาหนึ่งนับ ปะทะทับดัสกร เข้าราญรอมรุมรุก คลุกคลีกันหนักหนา ปวงปัจจามิตรมาก หลากทุกคราทุกครั้ง ตั้งตนต่อบมิคง ตรงตนต่อบมิหยุด เหลือจักยุทธ์จึ่งลาด ครั้นพระบาทยินสาร ธก็บรรหารตระบัด ตรัสปรึกษาหาเลศ แห่งเหตุเพโทบาย ถ้วนทุกนายทุกมุล ทั่วทุกขุนหมู่มาตย์ คาดความคิดทั้งมวล ควรยศใดใครเห็น จักเข่นเข็ญให้มอด จักขอดเข็ญให้ม้วย ด้วยถ่ายเทเล่ห์ไหน วานเขือไขอย่าอำ เขาขานคำท่านถาม สงครามครานี้หนัก เชิญเสด็จพักพลหมั้น แต่งทัพซั้นไปหน่วง ถ่วงศึกไว้จงหนา รามือลงก่อนไสร้ ไว้สักครั้งรั้งรอ พอได้ทีจึ่งยาตร ยกพยุหบาตรออกราญ เห็นควรการชัยชอบ ธก็ตรัสตอบมนตรี ตรองคดีดูแผก ฝ่ายเราแตกย่นยับ จักส่งทัพไปทาน พอพลอยฉานสองซ้ำ ค้ำบอยู่บหยุด ชอบถอยทรุดอย่ารั้ง ให้ศึกพลั้งเสียเชิง โดยละเลิงใจอาจ ยาตรตามติดผิดขบวน ควรเรายกออกโรม โหมหักหาญราญรงค์ คงชำนะเศิกไสร้ ได้ด้วยง่ายด้วยงาม เขายินความยลชอบ นอบประณตแด่ไท้ ธให้หมื่นทิพเสนา กับหมื่นราชามาตย์ เหินหัยราชรีบร้อน ไปเตือนต้อนกองนา เร็วเร่งล่าอย่ารั้ง ทวยพหลทั่วทั้ง ทราบข้อบรรหาร ท่านนา
๑๐๘/๒๗๘ โคลง๒
บนานต่างตนผ้าย ไปบ่รอรั้งท้าย
ถี่เท้าผาดผัง มานา

๑๐๙/๒๗๙
ผันหลังแล่นแผ่ผ้าน บมีผู้อยู่ต้าน
ต่อสู้สักตน หนึ่งนา
ฯลฯ

๑๑๐/๒๘๐ โคลง๓
พวกพลทัพรามัญ เห็นไทยผันหนีหน้า
ไปบ่หยุดยั้งช้า ตื่นต้อนแตกฉาน น่านนา

๑๑๑/๒๘๑
ไป่แจ้งการแห่งเล่ห์ เท่ห์กลไทยใช่น้อย
ต่างเร่งติดเร่งต้อย เร่งเต้าตีนตาม มานา

๑๑๒/๒๘๒
แลหลังหลามเหลือนับ บเป็นทัพเป็นขบวนแท้
ถวิลว่าพ่ายจริงแล้ ไล่ล้ำระส่ำระสาย ยิ่งนา

๑๑๓/๒๘๓
หมายละเลิงใจอาจ ประมาทประมาณหมิ่นหมั้น
เบาเร่งเบาเชิงชั้น ชื่นหน้ามาสรลม สรลอนนา

ตอนที่ ๙ ทัพหลวงเคลื่อนพล ช้างทรงพระนเรศวรและพระเอกาทศรถฝ่าเข้าไปในกองทัพข้าศึก
๑๑๔/๒๘๔ โคลง๔ เบื้องบรมจักรพรรดิเกล้า กษัตรา เถลิงพิภพทวารา เกริ่นแกล้ว สถิตเกยรัตนราชา อาสน์โอ่ องค์เอย คอยฤกษ์เบิกยุทธ์แผ้ว แผ่นพื้นหาวหน

๑๑๕/๒๘๕
บัดดลวลาหกซื้อ ชระอับ อยู่แฮ แห่งทิศพายัพยล เยือกฟ้า มลักแลกระลายกระลับ ลิวล่งไปเฮย เผยผ่องภาณุเมศจ้า แจ่มแจ้งแสงฉาน

๑๑๖/๒๘๖ คัคนานต์นฤราสร้าง ราคิน คือระเบียบรัตนอินทนิล คาดไว้ บริสุทธิ์สร่างมลทิน ถ่องโทษ อยู่นา นักษัตรสวัสดิเดชได้ โชคชี้ศุภผล ฯลฯ

ร่าย ๑๑๗/๒๘๙ เคลื่อนพลตามเกล็ดนาค ตามเต็มท่งแถวเถื่อน เกลื่อนกล่นแสนยาทัพ ถับปะทะไพรินทร์ ส่วนหัสดินอุภัย เจ้าพระยาไชยานุภาพ เจ้าพระยาปราบไตรจักร ตรับตระหนักสำเนียง เสียงฆ้องกลองปืนศึก อึกเอิกก้องกาหลง เร่งคำรนเรียกมัน ชันหูชูหางแล่น แปร้นแปร๋แลคะไขว่ บาทย่างใหญ่ดุ่มด่วน ป่วนกิริยาร่าเริง บำเทิงมันครั่นครึก เข้าสู้ศึกโรมราญ ควาญคัดท้ายบมิอยู่ วู่วางวิ่งฉับฉิว ปลิวประเล่ห์สมพาน ส่ำแสะสารแสนยา ขวาซ้ายแซงหน้าหลัง ทั้งทวยพลตนขุน ถ้วนทุกมุลมวลมาตย์ ยาตรบทันโทท้าว ด้าวศึกสู้สองสาร ราญศึกสู้สองไท้ ไร้พิริยะแห่ห้อม พร้อมแต่กลางควาญคช กำหนดสี่โดยเสร็จ เห็จเข้าใกล้กองหน้า ข้าศึกดูดาษเดียร ธระเมียรหมู่ดัสกร มอญพม่าดาดื่น เดินดุจคลื่นคลาฟอง นองน่านในอรรณเวศ ตรัสทอดพระเนตรเนืองบร โล่โรมรอนทวยสยาม หลามเหลือหลั่งคั่งคับ ซับซ้อนแทรกสับสน ยลบเป็นทัพเป็นกอง ธก็ไสสองสารทรง ตรงเข้าถีบเข้าแทง ด้วยแรงมันแรงกาย หงายงาเสยสารเศิก เพิกพังพ่ายบ่ายตน ปนปะไปไขว่คว้าง ช้างศึกได้กลิ่นมัน หันหัวหกตกกระหม่า บ่ากันเลี่ยงกันหลบ ประทบประทะอลวน สองคชชนชาญเชี่ยว เรี่ยวรณรงค์เริงแรง แทงถืบฉัดตะลุมบอน พม่ามอญตายกลาด ข้าศึกสาดปืนโซรม โรมกุฑัณฑ์ธนู ดูดั่งพรรษาซ้อง ไป่ตกต้องตนสาร ธุมาการเกิดกระลบ อบอลเวงฟากฟ้า ดูบ่รู้จักหน้า หนึ่งสิ้นแสงไถง แลนา

๑๑๘/๒๙๐ โคลง๔
จึ่งไทเทเวศอ้าง สมมุติ มิ่งมหิศวรมกุฎ เกศหล้า เถลิงภพแผ่นอยุธย- ยายิ่ง ยศแฮ แสดงพระเดชฟุ้งฟ้า เฟื่องด้าวดินไหว

๑๑๙/๒๙๑
ภูวไนยผายโอษฐ์อื้น โชยงการ แก่เทพทุกถิ่นสถาน ฉชั้น โสฬสพรหมพิมาน กมลาสน์ แลนา เชิญช่วยชุมโสตซั้น สดับถ้อยตูแถลง

๑๒๐/๒๙๒
ซึ่งแสร้งรังสฤษฏ์ให้ มาอุบัติ ในประยูรเศวตฉัตร สืบเชื้อ หวังผดุงบวรรัตน ตรัสเยศ ยืนนา ทำนุกพระศาสน์เกื้อ ก่อสร้างแสวงผล

๑๒๑/๒๙๓
กลใดไป่ช่วยแผ้ว นภา ดลฤๅ ใสสรว่างธุมา มืดม้วย มลักเล็งเหล่าพาธา ทวยเศิก สมรแฮ เห็นตระหนักเนตรด้วย ดั่งนี้แหนงฉงาย

๑๒๒/๒๙๔
พอถวายวรวากย์อ้าง โอษฐ์พระ ดาลมหาวาตะ ตื่นฟ้า ทรหึงทรหวลพะ- พานพัด หาวแฮ หอบธุมางค์จางเจ้า จรัสด้าวแดนสมร

๑๒๓/๒๙๕
ภูธรเมิลอมิตรไท้ ธำรง สารแฮ ครบสิบหกฉัตรทรง เทริดเกล้า บ่จวนบ่จวบองค์ อุปราช แลฤๅ พลางเร่งขับคชเต้า แต่ตั้งตาแสวง

๑๒๔/๒๙๖
โดนแขวงขวาทิศท้าว ทฤษฎี แลนา บัด ธ เห็นขุนกรี หนึ่งไสร้ เถลิงฉัตรจัตุรพิรีย์ เรียงคั่ง ขูเฮย หนแห่งฉายาไม้ ข่อยชี้เณอนาม

๑๒๕/๒๙๗
ปิ่นสยามยลแท้ท่าน คะเนนึก อยู่นา ถวิลว่าขุนศึกสำ- นักโน้น ทวยทัพเทียบพันลึก แลหลาก หลายแฮ ครบเครื่องอุปโภคโพ้น เพ่งเพี้ยงพิศวง

๑๒๖/๒๙๘
สองสุริยพงศ์ผ่านหล้า ขับคเชนทร์บ่ายหน้า แขกเจ้าจอมตะเลง แลนา

๑๒๗/๒๙๙
ไป่เกรงประภาพเท่าเผ้า พักตร์ท่านผ่องฤๅเศร้า สู้เสี้ยนไป่หนี หน้านา

๑๒๘/๓๐๐
ไพรีเร่งสาดซ้อง โซรมปืนไฟไป่ต้อง ตื่นเต้าแตกฉาน ผ้านนา

ตอนที่ ๑๐ ยุทธหัตถี และชัยชนะของไทย ===

๑๒๙/๓๐๑ โคลง๔ นฤบาลบพิตรเผ้า ภูวนา ยกแฮ ผายสิหนาทกถา ท่านพร้อง ไพเราะราชสุภา- ษิตสื่อ สารนา เสนอบ่มีข้อข้อง ขุ่นแค้นคำไข

๑๓๐/๓๐๒
อ้าไทภูธเรศหล้า แหล่งตะเลง โลกฤๅ เผยพระยศยินเยง ย่านแกล้ว สิบทิศทั่วลือละเวง หวั่นเดช ท่านนา ไป่เริ่มรอฤทธิ์แผ้ว เผือดกล้าแกลนหนี

๑๓๑/๓๐๓ พระพี่พระผู้ผ่าน ภพอุต- ดมเอย ไป่ชอบเชษฐ์ยืนหยุด ร่มไม้ เชิญราชร่วมคชยุทธิ์ เผยยอเกียรติ ไว้แฮ สืบกว่าสองเราไสร้ สุดสิ้นฤๅมี

๑๓๒/๓๐๔
หัสดีรณเรศอ้าง อวสาน นี้นา นับอนาคตกาล ห่อนพ้อง ขัตติยายุทธ์บรรหาร คชคู่ กันแฮ คงแต่เผือพี่น้อง ตราบฟ้าดินกษัย

๑๓๓/๓๐๕'
ไว้เป็นมหรสพซ้อง สุขศานติ์ สำหรับราชสำราญ เริ่มรั้ง บำเทิงหฤทัยบาน ประดิยุทธ์ นั้นนา เสนอเนตรมนุษย์ตั้ง แต่หล้าเลอสรวง

๑๓๔/๓๐๖ ป่วงไท้เทเวศทั้ง พรหมมาน
เชิญประชุมในสถาน ที่นี้ ชมชื่นคชบำราญ ตูต่อ กันแฮ ใครเชี่ยวใครชาญชี้ ชเยศอ้างอวยเฉลิม

๑๓๕/๓๐๗
หวันเริ่มคุณเกียรติก้อง กลางรงค์ ยืนพระยศอยู่คง คู่หล้า สงครามกษัตริย์ทรง ภพแผ่น สองฤๅ สองราชรอนฤทธิ์ร้า เรื่องรู้สรเสริญ

๑๓๖/๓๐๘
ดำเนินพจน์พากย์พร้อง พรรณนา องค์อัครอุปราชา ท่านแจ้ง กอบเกิดขัตติยมา- นะนึก หาญเฮย ขับคชเข้ายุทธ์แย้ง ด่วนด้วยโดยถวิล

๑๓๗/๓๐๙
หัสดินปิ่นธเรศไท้ โททรง คือสมิทธิมาตงค์ หนึ่งอ้าง หนึ่งคือศิริเมขล์มง คลอาสน์ มารเอย เศียรส่ายหงายงาคว้าง ไขว่แคว้งแทงโถม

๑๓๘/๓๑๐
สองโจมสองจู่จ้วง บำรู สองขัตติยสองขอชู เชิดด้ำ กระลึงกระลอกดู ไวว่อง นักนา ควาญขับคชแข่งค้ำ เข่นเขี้ยวในสนาม

๑๓๙/๓๑๑
งามสองสุริยราชล้ำ เลอพิศ นาพ่อ พ่างพัชรินทรไพจิตร ศึกสร้าง ฤๅรามเริ่มรณฤทธิ์ รบราพณ์ แลฤๅ ทุกเทศทุกทิศอ้าง อื่นไท้ไป่เทียม

๑๔๐/๓๑๒
ขุนเสียมสามรรถต้าน ขุนตะเลง ขุนต่อขุนไป่เยง หย่อนห้าว ยอหัตถ์เทิดลบองเลบง อังกุศ ไกวแฮ งามเร่งงามโทท้าว ท่านสู้ศึกสาร

๑๔๑/๓๑๓
คชยานขัตติเยศเบื้อง ออกถวัลย์ โถมปะทะไป่ทัน เหยียบยั้ง สารทรงราชรามัญ ลงล่าง แลนา เสยส่ายท้ายทันต์ทั้ง คู้ค้ำคางเขิน

๑๔๒/๓๑๔
ดำเนินหนุนถนัดได้ เชิงชิด หน่อนเรนทรทิศ ตกด้าว เสด็จวราฤทธิ์ รำร่อน ขอแฮ ฟอนฟาดแสงของ้าว อยู่เพี้ยงจักรผัน

๑๔๓/๓๑๕
เบื้องนั้นนฤนาถผู้ สยามมินทร์ เบี่ยงพระมาลาผิน ห่อนพ้อง ศัสตราวุธอรินทร์ ฤๅถูก องค์เอย เพราะพระหัตถ์หากป้อง ปัดด้วยขอทรง

๑๔๔/๓๑๖
บัดมงคลพ่าห์ไท้ ทวารัติ แว้งเหวี่ยงเบี่ยงเศียรสะบัด ตกใต้ อุกคลุกพลุกเงยงัด คอคช เศิกแฮ เบนบ่ายหงายแหงนให้ ท่วงท้อทีถอย

๑๔๕/๓๑๗
พลอยพล้ำเพลียกถ้าท่าน ในรณ บัดราชฟาดแสงพล- พ่ายฟ้อน พระเดชพระแสดงดล เผด็จคู่ เข็ญแฮ ถนัดพระอังสางข้อน ขาดด้าวโดยขวา

๑๔๖/๓๑๘
อุรารานร้าวแยก ยลสยบ เยนพระองค์ลงทบ ท่าวดิ้น เหนือคอคชซอนซบ สังเวช วายชิวาตม์สุดสิ้น สู่ฟ้าเสวยสวรรค์

๑๔๗/๓๑๙
บั้นท้ายคชาเรศท้าว ไทยไผท ถึงพิราลัยลาญ ชีพมล้าง เพราะเพื่อพิพิธไพ- รีราช แลนา โซรมสาดตราดปืนขว้าง ตอกต้องตนสลาย

๑๔๘/๓๒๐
ฝ่ายองค์อิศวรนาถน้อง นฤบาล แสดงยศคชยุทธยาน ยาตรเต้า มางจาชโรราญ ฤทธิ์ราช แลฤๅ เร็วเร่งคเชนทรเข้า เข่นค้ำบำรู

๑๔๙/๓๒๑
บัดภูธเรศพ่าห์ได้ เชิงชน ลงล่างง้างโททนต์ เทิดใต้ พัชเนียงเบี่ยงเบนตน เซซวน ไปแฮ หัวปั่นหันข้างให้ เพลี่ยงพลั้งเสียที

๑๕๐/๓๒๒
ภูมีมือง่าง้าว ของอน ฟันฟาดขาดคอบร บั่นเกล้า อินทรีย์ซบกุญชร เมือชีพ แลเฮย เผลพระเกียรติผ่านเผ้า พี่น้องสองไท

๑๕๑/๓๒๓
ทันใดกลางคชเจ้า จุลจักร มลายชิพิตลาญทัก ท่าวซ้ำ เหลือหลามเหล่าปรปักษ์ ปืนป่าย เอาเฮย ตรึงอกพกตกขว้ำ อยู่เบื้องบนสาร

๑๕๒/๓๒๔
พระราญอริราชด้วย เดโช สี่ทาสสนองบาทโท ท่านท้าว พระยศยิ่งภิยโย ผ่านแผ่ ภพนา สองรอดโดยเสด็จด้าว ศึกสู้เสียสอง

ร่าย ๑๕๓/๓๒๕ จึ่งกองพยุหทวยทัพ สรรพหลังหน้าขวาซ้าย ผ้ายทันธิบดินทร์ ขณะอรินทรพินาศ ขาดคอคชสองเสร็จ ต่างรีบระเห็จเข้าโรม โหมหักหาญราญรุก บุกบั่นฟันแทงฆ่า พม่ามอญไทยใหญ่ ไล่ล้างลาวดาษดวน ไล่มล้างยวนดาษดื่น ตื่นกันแตกกันตายหลายเหลือนับเนืองนอง กองก่ายกายรายหัว ตัวขาแขนเด็ดดาษ กลาดกลางท่งกลางเถื่อน เกลื่อนกลางดงกลางดอน แล่นซอกซอนซนซุก บุกทุกภายพ่ายแพ้ เพราะพระเดชท่านแท้ หากให้ขาดเข็ญ แลนา

๑๕๔/๓๒๖ โคลง๒
เห็นประภาพเจ้าช้าง เชี่ยวกว่าเชี่ยวเหลืออ้าง เอิกอื้ออัศจรรย์ ยิ่งนา

๑๕๕/๓๒๗
ขวัญหนีดีฝ่อพ้น พวกอเรนทร์ด่วนด้น ดัดดั้นทางทวน ไปนา ฯลฯ

ตอนที่ ๑๑ พระนเรศวรทรงสร้างสถูปและปูนบำเหน็จทหาร
๑๕๖/๓๓๒ โคลง๔ ราชาชัเยศอื้น โองการ รังสฤษฏ์พระสถูปสถาน ทึ่มล้าง ขุนเข็ญคู่รำบาญ สวมศพ ไว้แฮ หนตระพังตรุสร้าง สืบหล้าแหล่งเฉลิม

ร่าย ๑๕๗/๓๓๓ เสร็จเริ่มรณแล้วไสร้ ธให้เจ้าเมืองมล่วน ถ้วนทั้งคชหมอควาญ จำทูลสารเสียรงค์ องค์อุปราชเอารส ขาดคชลาญชีพ รีบเร็วยาตรอย่าหึง ไปแจ้งอึงกฤษฎาการ แด่มหิบาลผู้เผ้า เจ้าแผ่นภพหงสา แล้วธให้คลาพยุหทัพ กลับคืนครองครอบเหล้า เถลิงอยุธยเย็นเกล้า ทั่วทวยสยาม สิ้นนา

๑๕๘/๓๓๔ โคลง๔
กรุงรามฤทธิ์เฟื่องฟ้า ฟู่ภพ ตระบัดบพิตรปรารภ ชอบพ้น เจ้ารามราฆพ คงคู่ เสด็จนา ตำแหน่งกลางช้างต้น ต่อด้วยดัสกร

๑๕๙/๓๓๕
กุญชรวรพ่าห์ท้าย เถลิงงาน องค์อนุชนฤบาล บั่นเสี้ยน ขุนศรีคชคงชาญ ชเยศ ยิ่งนา สนองบาทยาตรยุทธ์เที้ยน เพื่อนไท้ในรณ

๑๖๐/๓๓๖
สองผจญอริราชด้วย โดยเสด็จ คุณขอบตอบบำเหน็จ ท่านให้ ครบเครื่องอุปโภคเสร็จ ทุกสิ่ง สรรพแฮ เงินและทองทาสใช้ อีกทั้งทวยเชลย

๑๖๑/๓๓๗
แล้วเผยพจนารถชั้น บรรหาร ยกชอบกอบบำนาญ ที่ม้วย นายมหานุภาพควาญ กลางคช หนี่งนา หมื่นภักดีศวรด้วย ศึกสู้เสียตน

๑๖๒/๓๓๘
นบัดดลดำรัสให้ ปูนยศ ทรัพย์สิ่งศรีสำรด ทั่วทั้ง บุตรทารท่านแทนทด ความชอบ เขานา สมที่ภักดีตั้ง ต่อเหง้าเผ่าเฉลิม

ร่าย ๑๖๓/๓๓๙ เพิ่มบำเหน็จเสร็จไซร้ ธให้เชิญพระอัยการศึก ปรึกษาโทษขุนทัพ สรรพทั้งมวลหมู่มาตย์ ว่าอริราชริปู ยกพยูหเหยียบเขต ประเวศชานเวียงชัย พระบาทไทธทั้งสอง ปองพระศาสน์อำรุง ผดุงชุมชีทวิชาติ ทั่วทวยราษฎร์ประชา ไป่ระอาออกท้อ ข้อลำเค็ญพระองค์ ทรงพระอุตสาหภาพ เสด็จปราบราชอรี ปวงมนตรีนายทัพ สรรพทุกตนทุกตัว กลัวอเรนทร์เหลือล้น พ้นยิ่งพระราชอาชญา ไป่ยาตราพลขันธ์ ทันเสด็จด้าวรณรงค์ มละสารทรงสองเต้า เข้าท่ามกลางปัจนึก ถึงสู้ศึกหัสดี มีชเยศเสร็จสรรพ โทษขุนทัพทั้งมวล ควรประการใดไสร้ โดยระบอบแบบไว้ แต่เบื้องโบราณ รีตนา
ฯลฯ

๑๖๔/๓๔๓ โคลง๓
ถวายพิพากษาชั้น ดำรัสโดยเหตุหั้น แห่งเบื้องบันทึก โทษนา

๑๖๕/๓๔๔
คำนึงนึกบาปใกล้ วันบัณรสีไซร้ จวบเข้าควรงด หน่อยนา

๑๖๖/๓๔๕
กำหนดพรุกเพ็ญแท้ พันธนาไว้แล้ ตรุตรึ้งตรากขัง มั่นนา

๑๖๗/๓๔๖ โคลง๓
ตั้งแต่ปาฏิบท ล่วงอุโบสถเสด็จแล้ว เร่งสฤษฏ์โทษอย่าแคล้ว คลาดด้าวดำเนิน บทนา

ตอนที่ ๑๒ สมเด็จพระวันรัตขอพระราชทานอภัยโทษ
ร่าย ๑๖๘/๓๔๗ ไป่เกินกาลท่านสั่ง กระทั่งแรมสิบห้าค่ำ ย่ำสองนาฬิกาปลาย ทำงนงายพอเสร็จ จึ่งสมเด็จพระวันรัต วัดป่าแก้วแคล้วคลา กับราชาคณะสงฆ์ ยี่สิบห้าองค์สองแผนก แฉกงาสานสรล้าย ผ้ายลุยังวังราช พระบาทธให้นิมนต์ ดลเรือนรัตนมาฬก ตกแต่งอาสน์ลาดเจียม เตรียมเสร็จสงฆ์สู่สถิต บพิตรกรกรรมพุม ชุมบรรพชิตแช่มชื่น ขุนชีอื้นอวยพร ถามข่าวจรจอมภพ ซึ่งเสด็จรบพารณ จนอเรนทรพินาศ ขาดคอคชในรงค์ จึ่งพระองค์อิศเรศ บรรหารเหตุจำบัง จอมสงฆ์ฟังซั้นขาน พระราชสมภารมีชัย ใดทวยบาทมูลิกา ต้องอาชญายินแหนง ตรัสแสดงโดยดับ ว่านายทัพทั้งผอง เกณฑ์เข้ากองพยูห์ โยมสองตูต่อเข็ญ มันเห็นเศิกสระทก ตระดกดาระรัว ยิ่งกว่ากลัวสวามิศ บเต้าติดตูต้อย มละแต่ข้อยสองคน เข้าโรมรณราวิศ ในอมิตรหมู่กลาง แสนเสนางค์เนืองบร จนราญรอนไอยเรศ ลุชเยศมฤตยู จึ่งได้ดูหน้ามัน เพื่อมหันตบารเมศ เบื้องบุเรศบำรุง ผดุงเดชเผือพี่น้อง ผิบพ้องบุญบูรพ์ ไอยศูรย์เสียมภพ ตรลบเลื่องขามนามตะเลง ลือละเวงธาษตรี เป็นธรณีหงสา เสื่อมกฤตยาสยามยศ สาหสสหากมากมวล ควรลงทัณฑ์ถึงม้วย ด้วยพระอัยการศึก จารึกชื่อชั่วฟ้า ไว้เป็นขนบภายหน้า อย่าให้ใครยลเยี่ยงนา
๑๖๙/๓๔๘ โคลง๔
สมเด็จพนรัตเจ้า จอมชี
ฉลองพจน์ราชวาที ท่านให้
ทวยทูลละอองธุลี บัวบาท พระนา
พื้นภักดีต่อใต้ บทเบื้องเรณู

๑๗๐/๓๔๙
ดูผิดไป่รักท้าว ไป่เกรง
แผกระบอบแต่เพรง ห่อนพ้อง
พระเดชหากแสดงเอง อำนาจ พระนา
เสนอทุกทวยธเรศก้อง เกียรติอ้างอัศจรรย์
ฯลฯ

๑๗๑/๓๕๗
พระตรีโลกนาถแผ้ว เผด็จมาร
เฉกพระราชสมภาร พี่น้อง
เสด็จไร้พิริยะราญ อรินาศ ลงนา
เสนอพระยศยิ่งยินก้อง เกียรติท้าวทุกภาย

๑๗๒/๓๕๘
ผิวหลายพยุหยุทธ์ร้า โรมรอน
ชนะอมิตรมวลมอญ มั่วมล้าง
พระเดชบ่ดาลขจร เจริญฤทธิ์ พระนา
ไปทั่วธเรศออกอ้าง เอิกฟ้าดินไหว

๑๗๓/๓๕๙
อย่าไทโทมนัสน้อย หฤทยา
เพื่อพระราชกฤษฏา แต่กี้
ทุกทวยเทพคณา ซุมซ่วย พระเอย
แสดงพระเดโชชี้ ชเยศไว้ในสนาม


๑๗๔/๓๖๐ โคลง๓
สมดั่งความตูพร้อง ขอบพิตรอย่าข้อง
ขุ่นแค้นเคืองกมล ท่านนา

๑๗๕/๓๖๑
โดยยุบลถ่องแท้ ฤๅสนเท่ห์เล่ห์แล้
ถูกถ้อยแถลงการณ์ นี้นา

ร่าย ๑๗๖/๓๖๒ ปางนฤบาลบดินทร์ ยินสมเด็จพระวันรัต จำแนกอรรถบรรยาย ถวายวิสัชนาสาร โดยพิสดารพรรณนา เสนอสมญายศโยค พระบรมโลกโมลี ด้วยวิธีอุปมาแห่งกฤษฎาภินิหาร ดาลมนัสชุ่มชื้น ตื้นเต็มปรีดิ์ปราโมทย์ โอษฐ์ออกื้นสาธู ชูพระกรกรรพุม ชุมทศนัขเหนือผาก เพื่อยินมลากเลอมาน เจ้ากูขานคำขอบ ชอบทุกสิ่งจริงถ้อย ถวิลบ่แหนงหนึ่งน้อย แน่แท้แถลง แลนา
๑๗๗/๓๖๓
แจ้งเหตุแห่งเหือดขึ้ง ในมนัส
จึ่งพระวันรัตวัด ป่าแก้ว
ถวายพรบวรศรีสวัสดิ์ สว่างโทษ ท่านนา
นฤทุกข์นฤภัยแผ้ว ผ่องพ้นอันตราย

๑๗๘/๓๖๔
ทั้งหลายทวยบาทเบื้อง บงกช
ควรโคตรโทษสาหส อะคร้าว
แต่ทูลธุลีบท สนองบาท มานา
เพรงพระอัยกาท้าว ตราบไท้พระเจ้าหลวง

๑๗๙/๓๖๕
ล่วงถึงบพิตรผู้ เถลิงถวัลย- ราชย์ฤๅ
คือพุทธบรรษัทสรรพ์ สืบสร้าง
เชิญดอดอวยทัณฑ์ ทวยโทษ นี้นา
เลยอย่าลาญชีพมล้าง หนึ่งครั้งขอเผือ

๑๘๐/๓๖๖
ไว้เพื่อผดุงเดชเจ้า จอมปราณ
ก่อเกิดราชรำบาญ ใหม่แม้
พูนเพิ่มพระสมภาร เพ็ญภพ พระนา
วายบ่หวังตนแก้ ชอบได้ไป่มี

ร่าย ๑๘๑/๓๖๗ นฤบดีดาลสดับอรรถ ซึ่งพระวันรัตอภิปราย ถวายพระพรอาจายน์ โทษมวลมาตย์ทุกมุล เพื่อการุญบริรักษ์ ภักดีในบาทบงสุ์ จึ่งพระองค์อนุญาต พระราชทานโทษทั้งผอง โดยอันครองยศ บรรหารพจนพาที ซึ่งเจ้าชีขานขอ ข้อยยกยอโทษให้ แต่ชอบใช้ไปรอน เอานครตะนาวศรี บุรีทวายมริด ถ่ายหนผิดหาชอบ ขุนสงฆ์ตอบคำขาน ข้อโรมราญราวิศ ไป่เป็นกิจตูตาม ใช่เงื่อนงามบรรพชิต โดยพิตรอัธยา เบื้องบัญชาเชิงใช้ ขอลาไท้ลีลาศ ยังอาวาสเวียงวัด ตระบัดท่านจรลี พาเพื่อนชีอะคร้าว คืนสู่ด้าวอาราม เจ้าจอมสยามเสาวนีย์ เนืองมนตรีพ้นโทษ โปรดให้เนาตำแหน่ง แห่งฐานันดรยศ พระราชกำหนดโดยดับ ทัพเจ้าพระยาคลัง รังพลห้าหมื่นเสร็จ เห็จโหมเวียงทวาย หมายเจ้าพระยาจักรี พรักพิรีย์เทียบทัด รัดไปโรมตะนาวศรี ตีมริดเวียงชัย จึ่งชไมมาตยา บัลคลลายาตรพยู่ห์ สู่แดนเศิกโดยปอง ปิ่นเสียมสองสุริยชาติ ตรัสพิภาษพจนา ซึ่งอุตรานคเรศ เขตสีมาเมืองออก เลิกครัวครอกมาหลาย หมายบ่หมดทั้งผอง ตริไตรครองคราวศึก เสื่อมหาญฮึดแบ่งเบา จักโรมเราฤๅย่าน ฝีมือม่านมอญมวล ควรผดุงชนบท ปรากฏเกียรติยืนยง คงคู่กัลป์ประลัย เฉลิมแหล่งไผททั่วด้าว แสดงพระยศไทท้าว ธิราชไว้ไป่วาย นามนา

ฯลฯ
๑๘๒/๔๒๖ โคลง๔
เสร็จแสดงพระยศเจ้า จอมอยุธ- ยาแฮ
องค์อดิศรสมมุติ เทพไท้
นเรศวรรัตนมกุฎ เกศกษัตริย์ สยามฤๅ
หวังอยู่คู่ธเรศไว้ ฟากฟ้าดินเฉลิม

๑๘๓/๔๒๗
รังเริ่มรจเรขอ้าง อรรถา แถลงเอย
เสมอทิพย์มาลย์ผกา เก็บร้อย
ฉลองบทรัชนรา- ธิปผ่าน ภพฤๅ
โดยบ่เชี่ยวเชลงถ้อย ถ่องแท้แลฉลาย

๑๘๔/๔๒๘
บรรยายกลกาพย์แสร้ง สมญา ไว้แฮ
สมลักษณ์เล่ห์เสาวนา เรื่องรู้
ตะเลงพ่ายเพื่อตะเลงปรา- ชเยศ พระเอย
เสนอฤทธิ์สองราชสู้ ศึกช้างกลางสมร

๑๘๕/๔๒๙
อวยพรคณะปราชญ์พร้อม พิจารณ์ เทอญพ่อ
ใดวิรุธบรรหาร เหตุด้วย
จงเฉลิมแหล่งพสุธาร เจริญรอด หึงแฮ
มลายโลกอย่ามลายม้วย อรรถอื้นอัญขยม

๑๘๖/๔๓๐
กรมหมื่นนุชิต เชื้อ กวีวร
ชิโนรส มิ่งมหิศร เสกให้
ศรีสุคต พจนสุนทร เถลิงลักษณ์ นี้นา
ขัตติยวงศ์ ผจงโอษฐ์ไว้ สืบหล้าอย่าศูนย์
ฯลฯ

๑๘๗/๔๓๗
ผิววงว่ายวัฏเวิ้ง วารี โอฆฤๅ
บลุโลกกุตรโมลี เลิศล้น
จงเจนจิตกวี วรวากย์ เฉลิยวเอย
ตราบล่วงบ่วงภพพ้น เผด็จเสี้ยนเบียนสมร
ฯลฯ