วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บรมมหานารายณ์ทศอวตาร ตอน ปรศุรามวตาร

ทศอวตารนารายณ์เทพ ตอน ปรศุรามวตาร

ฉภาคพระบรมเทพนาถา อวตารแบ่งภาคเป็นปรศุราม
ทรงขวานเพชรสังหารล่าแค้นแทนมารดา พระอรชุนกษัตราผู้หยาบคาย
ด้วยความแค้นเคียดจิตพิศวง ไม่ยอใกลับไปรวมภาคบนสวรรค์
ตามไล่ล่าสังหารสุริยวงศ์กษัตริย์ จนพราหมณ์ต้องโยนิช่วยเผ่ากษัตริย์เอย

         ปางอวตารที่ 6 ของพระนารายณ์คือปรศุรามวตาร ทรงอวตารมาเป็นพราหมร์ถือขวานเพชรเพื่อสังหารพระอรชุนหรือพญากรรติเกร์ กษัตริย์มนุษย์ผู้หยาบช้า แต่ภาคนี้มีความพิเศษและดูไม่น่าจะมาเป็นภาคอวตารของพระนารายณ์ได้เพราะปรศุรามอุดมไปด้วยความแค้น ผิดกับปางอวตารอื่นๆทั้งเมื่อเสร็จภารกิจก็ไม่ยอมกลับไปรวมภาคกับพระนารายร์ เรียกว่าดื้อรั้นความความคิดเป็นของตนมากยังอยู่บนโลกและไล่ล่าสังหารเหล่ากษัตริย์จนเกือบหมดทำให้นางกษัตริย์หมายต้องมาร้องขอให้เหล่าพราหมณ์ช่วยเหลือบังเกิดประเพณีโยนินั้นเอง โดยเรื่องมีดังนี้
        แคว้นกานยสุภชะ มีพระราชาพระองค์หนึ่งนาม คาธิราชนรินทร์ มีพระธิดาสวยงามมากมีพระนามว่า สัตยวดี วันหนึ่งฤาษีเฒ่าอยู่ตนหนึ่งชื่อ ฤจิก ได้มาสู่ขอ ซึ่งนางสัตยวดีได้ตอบตกลง แต่พระราชาทรงไม่ยอม ได้ตั้งเงื่อนไขว่า ให้ฤาษีฤจิกไปนำม้าขาวที่มีหูเป็นสีดำหนึ่งพันตัวมาเป็นสินสอด ฤาษีฤจิกจึงบวงสรวงพระวรุณเทพเจ้าแห่งน้ำและขอประทานม้าขาวที่มีหูเป็นสีดำหนึ่งพันตัวซึ่งพระวรุณก็ประทานให้ ฤาษีฤจิกจึงได้อภิเษกกับนางสัตยวดีและกลับเข้าป่าไปวันหนึ่งนางสัตยวดีต้องการมีบุตร ฤาษีจึงกวนข้าวทิพย์ขึ้นมาสองจาน จานหนึ่งให้นางสัตยวดีทานซึ่งจะให้กำเนิดบุตรชายที่มีใจกุศล รักสันโดษ เพื่อมาเป็นพราหมณ์ที่มีศีลธรรม อีกจานหนึ่งให้พระมารดาของนางสัตยวดีซึ่งจะให้กำเนิดบุตรชายที่มีฤทธิ์เดช จิตใจกล้าหาญ และมีอำนาจ เมื่อฤาษีเข้าไปบำเพ็ญตบะ พระมารดาจึงบอกให้สลับจานข้าวทิพย์เพราะพระมารดาต้องการให้พระธิดาไม่ต้องอับอายที่มีลูกเป็นพราหมณ์ทั้งที่อยู่ในวรรณะกษัตริย์มาก่อน แต่พระมารดามีบุตรชายที่มีความสามารถอยู่แล้วจึงไม่เป็นอะไรที่จะให้กำเนิดลูกชายอีกองค์เป็นพราหมณ์ เมื่อได้ฟังนางสัตยวดีจึงยอมเปลี่ยนจานข้าว เมื่อฤาษีฤจิกกลับมาทราบเรื่องก็โกรธที่นางสัตยวดีไม่ทำตามที่สั่ง จนนางสัตยวดีต้องไปกราบขอโทษ ฤาษีฤจิกทำพิธีกรรมให้กลับเป็นอย่างเดิมที่ตนตั้งใจไว้ตั้งแต่คราวแรก และเลื่อนให้การมีบุตรที่มีฤทธิ์เดชเกิดในคราวหลานไปต่อมานางสัตยวดีก็ให้กำเนิดบุตรชายรูปงามชื่อว่า ชมทัคคี ซึ่งได้บวชเป็นพราหมณ์และถือว่าเป็นยอดแห่งพราหมณ์ และได้ไปสู่ขอนางเรณุกาจากพระเจ้าปเสนชิต และได้มีบุตรชายด้วยกันห้าคน ซึ่งคนสุดท้ายมีชื่อว่ารามหรือรามฤทธิรุทรซึ่งเป็นพระนารายณ์อวตารลงมา รามเป็นที่ชื่นชอบของพระศิวะ พระศิวะจึงประทานขวานเพชรให้จึงทำให้เปลี่ยนชื่อเป็น ปรศุรามวันหนึ่งขณะที่ฤาษีชมทัคคีเข้าป่าหาผลไม้ นางเรณุกาเดินไปเพื่ออาบน้ำที่ลำธารตามปกติ นางเรณุกาก็ได้ยินเสียงดังแว่วมาจากลำธาร นางเรณุกาจึงแอบดูอยู่หลังพุ่มไม้ ซึ่งนั่นคือเสียงของพระราชาจิตรสแห่งเมืองมฤติกาวดีกับพระมเหสีกำลังพลอดรักกันอยู่ในลำธาร นางเรณุกาจึงเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจว่า ตนเองนั้นทั้งที่เป็นธิดากษัตริย์แต่กลับต้องทำงานเยี่ยงบ่าวไพร่ และไม่มีเวลาได้อยู่กับฤาษีชมทัคคี จึงได้กระโดดลงน้ำเพื่อให้กายเย็นลงแต่ใจนั้นยังร้อนรุ่ม ต่อมานางเรณุกาได้กลับมาที่อาศรมแต่เกิดอาการกระวนกระวายนึกถึงแต่ภาพที่เห็นของพระราชาจิตรสกับพระมเหสีเมื่อฤาษีชมทัคคีกลับมาจากป่าเห็นนางเรณุกาผิดแปลกไปจากปกติจึงเอ่ยถาม นางเรณุกาจึงเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง จึงทำให้ฤาษีชมทัคคีโกรธว่าทำไมนางเรณุกาถึงมีจิตใจลามกชั่วช้าเช่นนี้ และได้สั่งให้บุตรชายคนโตรุวัณวัตสังหารนางเรณุกาเสีย แต่รุวัณวัตไม่สามารถทำได้ ฤาษีชมทัคคีจึงสั่งบุตรชายคนที่สองไปจนกึงคนที่สี่แต่ก็ไม่มีใครสามารถทำได้ ฤาษีจึงโกรธมากและสาปให้ คนหนึ่งเป็นคนโง่ คนหนึ่งเป็นคนบ้า คนหนึ่งเป็นคนเสียสติ คนหนึ่งเป็นคนวิกลจริต ในขณะนั้นปศุรามกลับมาที่อาศรมพอดี ฤาษีชมทัคคีจึงเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังและสั่งให้ปรศุรามสังหารมารดาเสีย ปรศุรามไม่อยากสังหารมารดาแต่ก็ไม่อยากขัดคำสั่งพ่อ และไม่อยากเป็นเช่นพี่ชายทั้งสี่คน จึงก้มลงกราบลงที่เท้าของนางเรณุกาและนำขวานเพชรฟันพระศอของนางขาดกระเด็นเมื่อสังหารนางเรณุกาแล้ว ฤาษีชมทัคคีได้ชื่นชมปรศุรามและได้ให้พรสามประการ ปรศุรามจึงขอพรดังนี้ หนึ่งขอให้นางเรณุกาฟื้น สองขอให้พี่ชายทั้งสี่กลับมาเป็นคนปกติ สามขอให้ตนเองมีฤทธิ์เดช อายุยืน มีเกียรติแบบพราหมณ์ ซึ่งฤาษีชมทัคคีก็ประทานพรให้ และทั้งหมดก็อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขตัดมาทางนครมหิษบดีปุระ มีกษัตริย์พระองค์หนึ่งมีชื่อว่า อรชุน ซึ่งเป็นพระโอรสของท้าวปิตวีระ ท้าวอรชุนนั้นจึงมีฉายาว่า การตวีรยะ ท้าวอรชุนนั้นได้ร่ำเรียนกับพระฤาษีทัตตไตย และเป็นที่โปรดปราณของพระฤาษี ฤาษีทัตตไตยจึงประทานพร ขออะไรก็จะให้ ท้าวอรชุนจึงขอพรดังนี้ หนึ่งขอให้มีแขนพันแขน มือพันมือ สองมีรถบุษบกทองสามารถลอยล่องไปได้ทุกที่ สามมีอำนาจในการปราบทุจริต สี่เป็นพระราชาชนะหรือเป็นผู้มีอำนาจในสากลพิภพรบที่ไหนชนะที่นั่น ห้ามีจิตใจรู้รับผิดชอบชั่วดีปกครองโดยธรรม หกรบกับใครขอให้ชนะ และข้อสุดท้าย เจ็ดถ้าจะตายขอให้ตายด้วยมือของผู้มีเกียรติทั่วโลก ซึ่งพระฤาษีก็ประทานพรให้ตามนั้นท้าวอรชุนปกครองบ้านเมืองด้วยความสงบสุข นครมหิษบดีปุระในยุคสมัยของอรชุนนั้นอยู่ยืนยาวถึงแปดพันห้าร้อยปี และเมื่อมีสงครามก็ชนะทุกครั้งไป จนไปเข้าหูของท้าวราพนาสูรหรือทศกัณฐ์ซึ่งครองกรุงลงกา จึงเกิดความไม่พอใจอิจฉาริษยา จึงจัดทัพจากกรุงลงกาไปท้ารบถึงนครมหิษบดีปุระ แต่ท้าวอรชุนไม่อยู่ในเมือง ท้าวราพนาสูรจึงยกทัพตามไป จนใกล้จะถึงจุดหมายท้าราพนาสูรจึงจัดการทำพิธีกองไฟบูชาพระศิวะเพื่อให้ได้ชัยชนะในการรบ ขณะที่ท้าวอรชุนซึ่งไม่รู้ว่าท้าวราพนาสูรได้ยกทัพมา จึงชวนนางสนมกำนัลไปเล่นน้ำในแม่น้ำ และหยอกล้อกันโดยการนำมือหนึ่งพันมือมาทำเป็นเขื่อนกั้นน้ำไม่ให้ไหล น้ำที่ถูกกั้นจึงเอ่อล้นสู่ผืนดินและไปพัดทำลายสิ่งของที่ท้าวราพนาสูรทำพิธีไปจนหมด ท้าวราพนาสูรจึงโกรธมากและยกทัพไปจัดการทัพของท้างอรชุนซึ่งไม่ได้จัดเตรียมการรบมาก่อน จึงทำให้แพ้ถอยร่นไปจนถึงลำธารที่ท้าวอรชุนเล่นน้ำอยู่ เมื่อทราบเรื่องท้าวอรชุนจึงจับกระบองขึ้นไล่ฟาดฟันกองทัพของท้าวราพนาสูรไปจนถึงราชรถของท้าวราพนาสูร จึงตรัสว่า มารบกันตัวต่อตัวจะเป็นการดีเสียกว่าการรบที่ทำให้เสียไพร่พลไปโดยเปล่าประโยชน์ ท้าวราพนาสูรจึงตกลงและพ่ายแพ้ไปในที่สุด ท้าวอรชุนจึงจับท้าวราพนาสูรมัดขาไว้กับรถแล้วขับรถลากประจานไปทั่วเมือง และนำไปผูกกับเสาประจาน สร้างความอับอายให้กับท้าวราพนาสูรเป็นอย่างมาก ร้อนไปถึงฤาษีนาถมุนี ฤาษีนาถมุนีจึงไปหาฤาษีเปาสัตยะให้ช่วยไปขอโทษท้าวอรชุน จนท้าวอรชุนอ่อนใจให้เสนาอำหมาตไปปล่อยตัวท้าวราพนาสูรและให้นำตัวมาพบ ท้าวราพนาสูรเมื่อได้เจอท้าวอรชุนจึงก้มลงกราบด้วยความอายและรู้สึกเป็นคุณที่ได้รับการให้อภัย ท้าวอรชุนให้อภัยท้าวราพนาสูร และตกลงที่จะสาบานเป็นพี่น้องกันต่อหน้าฤาษีเปาสัตยะท้าวอรชุนเมื่อปราบท้าวราพนาสูรได้ทุกคนก็ต่างนับถือให้ความเคารพมากยิ่งขึ้น เมื่อมีเรื่องอะไรกันก็จะให้ท้าวอรชุนตัดสิน บรรดาวรรณะกษัตริย์ก็ยอมอยู่ใต้พระบารมีของท้าวอรชุน เวลาที่วรรณะกษัตริย์มีเหตุกับวรรณะพราหมณ์ก็ให้ท้าวอรชุนช่วย ซึ่งท้าวอรชุนก็จัดการกับพราหมณ์ฤาษี จนพราหมณ์พ่ายแพ้ไปเสียทุกครั้ง ไม่เว้นแม้แต่พราหมณ์ที่ดีมีคุณธรรม บรรดาพราหมณ์จึงรวมกันไปเข้าเฝ้าพระนารายณ์ พระนารายณ์จึงอวตารลงมาเป็นปรศุรามครั้งหนึ่งท้าวอรชุนได้ไปมีเรื่องกับฤาษีวสฤษ จึงยกทัพไปล้อมอาศรม แต่เนื่องจากฤาษีวสฤษนั้นมีโควิเศษคือโคสุรพีซึ่งได้มาจากการกวนเกษียณสมุทร ฤาษีวสฤษจึงให้โคสุรพีนิรมิตกองทัพมาสู้รบจนท้าวอรชุนพ่ายแพ้ไปท้าวอรชุนเมื่อได้รับความพ่ายแพ้จึงหนีเข้าป่าล่าสัตว์ไปเรื่อย จนได้พบอาศรมของฤาษีชมทัคคี ซึ่งในขณะนั้นนางเรณุกาอยู่แต่เพียงผู้เดียว ได้เชื้อเชิญต้อนรับท้าวอรชุนอย่างดี และได้เรียกโควิเศษซึ่งเป็นโคสุรพีเช่นเดียวกับโคของฤาษีวสฤษ และให้โคสุรพีเสกน้ำอาหารมาถวายท้าวอรชุนและผู้ติดตาม ท้าวอรชุนเมื่อเห็นโคสุรพีจึงเกิดความโลภและได้เอ่ยปากขอ แต่นางเรณุกาไม่ให้ เพราะถ้าไม่มีโคก็จะไม่มีอาหารทาน แต่ท้าวอรชุนมีสมบัติมากมายอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นใดๆที่ต้องการโคสุรพี ท้าวอรชุนจึงเอ่ยปากขอลูกโคแทน แต่นางเรณุกาไม่ต้องการให้พรากลูกโคออกจากแม่โคจึงไม่อนุญาต ท้าวอรชุนไม่ยอมจึงแสดงความไม่พอใจด้วยการตัดต้นไม้รอบๆอาศรมทิ้งและจับลูกโคสุรพีไป แล้วตรัสว่าใครมาขัดขวางจะลงโทษ แล้วยกทัพออกจากอาศรมกลับเมืองเมื่อฤาษีชมทัคคีกลับมาที่อาศรมเห็นต้นไม้ถูกตัดออกไปจึงถามนางเรณุกา ซึ่งนางก็เล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังและบอกให้แก้แค้น แต่ฤาษีกลับไม่เอาเรื่องและพูดปลอบ นางเรณุกาจึงไปบอกกับปรศุรามให้แก้แค้นเมื่อปรศุรามได้ฟังก็โกรธแค้นมาก จึงนำขวานเพชนและธนูคู่มือติดตามไปจนเจอท้าวอรชุนและต่อว่า ท้าสู้กันตัวต่อตัว ท้าวอรชุนนั้นตอบตกลงโดยไม่กลัวเกรง ปรศุรามยิงศรไปศรหนึ่งแขนพันแขนของท้าวอรชุนก็เหลือสองแขน แล้วใช้ขวานเพชรซึ่งไม่มีอำนาจใดมาหักล้างได้เพราะพระศิวะประทานให้ตัวพระศอท้าวอรชุนขาดกระเด็นจนท้าวอรชุนสวรรคตปรศุรามได้กลับอาศรม และเล่าเรื่องให้ฤาษีชมทัคคีฟัง แต่ฤาษีชมทัคคีกลับรู้สึกไม่ดีและได้กล่าวสั่งสอนว่า เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร ไปก่อเวรแบบนี้น่ะไม่ดีเลย แต่ปรศุรามกลับตอบว่า ใครที่มาก่อเวรจะให้ลองรสขวาน ไม่กลัวหรอกเมื่อท้าวอรชุนสวรรคต บรรดาโอรสของท้าวอรชุนต่างโกรธแค้นเป็นอันมากและได้ยกทัพไปที่อาศรมของฤาษีชมทัคคี ซึ่งฤาษีชมทัคคีก็ได้ออกมาต้อนรับ อริชาโอรสคนโตของท้าวอรชุนจึงเอ่ยถามว่า ลูกของเจ้า นี่ชื่อรามฤทธิรุทรใช่หรือไม่ ฤาษีชมทัคคีจึงตอบว่า ใช่ อริชาจึงเอ่ยต่อว่า ลูกของเจ้าไปฆ่าพระบิดาของข้า เพราะฉะนั้นข้าก็จะฆ่าพ่อของรามฤทธิรุทรให้ตายเป็นการแก้แค้น เมื่อฤาษีชมทัคคีได้ฟังก็ได้ร้องขอชีวิตแต่หาได้เป็นผลไม่ อริชาได้สังหารฤาษีชมทัคคีและทิ้งศพไว้หน้าอาศรมนั้นเมื่อปรศุรามกลับมาที่อาศรมเห็นศพของฤาษีชมทัคคีก็ร้องไห้เสียใจแล้วตัดพ้อว่า ฤาษีผู้เป็นพ่อนี้ทำแต่ความดี ทำไมถึงมาเสียชีวิตเพราะคนพาลสันดานหยาบแบบนี้ และได้สาบานว่าจะฆ่าเผ่าพันธุ์กษัตริย์ทั้งหมดหลังจากนั้นปรศุรามก็สังหารวงศ์ของท้าวอรชุนจนสิ้นและสังหารกษัตริย์รวมไปถึงพระโอรสยกเว้นพระธิดา มเหสีของเมืองทุกเมืองจนสิ้น ครบอายุคือยี่สิบเอ็ดพรรษา ซึ่งหมายความว่าปรศุรามได้สังหารวงศ์กษัตริย์ไปถึงยี่สิบเอ็ดครั้ง เมื่อแก้แค้นสำเร็จปรศุรามจึงไปบำเพ็ญตบะไม่ยุ่งเกี่ยวกับทางโลกบรรดาธิดา มเหสี เห็นว่าไม่มีเมืองไหนที่มีกษัตริย์ครองเมือง ด้วยกลัวว่าจะสิ้นราชวงศ์วรรณะกษัตริย์ จึงไปขอร้องบรรดาพราหมณ์ให้ช่วยทำพิธีนิโยค เพื่อไม่ใช้วรรณะกษัตริย์สูญสิ้น บรรดาพราหมณ์เห็นว่าแผ่นดินควรมีทั้ง วรรณะกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูตร จึงได้ทำพิธีนิโยคขึ้น วรรณะพราหมณ์จึงเป็นผู้ให้กำเนิดวรรณะกษัตริย์ครั้งหนึ่งหลังจากที่ปรศุรามละจากทางโลกแล้ว ปรศุรามนั้นได้ไปเข้าเฝ้าพระศิวะ แต่พระพิฆเนศซึ่งเป็นพระโอรสของพระศิวะไม่ให้เข้าพบ ปรศุรามจึงโกรธขว้างขวานเพชรใส่พระพิฆเนศ พระพิฆเนศจึงใช้งาข้างหนึ่งรับ และเป็นเหตุให้เสียงาไป

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอโทษค่ะคือเราเป็นผู้เขียนบทความนี้ รบกวนช่วยใส่เครดิทให้ด้วยได้ไหมคะ

    http://aris.exteen.com/20070628/entry

    ตอบลบ